Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2029
Title: การผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
Other Titles: Oil palm production by farmers in Tha Sae District of Chumphon Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
อลิสา ชาติเวช, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปาล์มน้ำมัน--การผลิต
ปาล์มน้ำมัน--ไทย--ชุมพร
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลทางเศรษฐกิจและสังคม (2) สภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมัน (4) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ามัน (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร (6) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้ในการผลิตปาล์มน้ำมัน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.03 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.96 คน มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 17.58 ไร่ มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.25 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 3.38 คน ในรอบปี 2555 เกษตรกรมีรายได้จากปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 12,154.13 บาทต่อไร่ มีรายจ่ายต่อไร่เป็นค่าปุ๋ยเฉลี่ย 2,290.77 บาท ค่าสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชเฉลี่ย 306.21 บาท ค่าตัดหญ้าเฉลี่ย 437.83 บาท ค่าตัดแต่งทางใบเฉลี่ย 330.86 บาท ค่าเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 1,854.40 บาท ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เฉลี่ย 662.72 บาท รายจ่ายในการผลิตปาล์มน้ำมันทั้งหมดเฉลี่ย 4,602.55 บาท และใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตปาล์มน้ำมัน เกษตรกรเกือบครึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. มีประสบการณ์ในการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 15.88 ปี การรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (2) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนดินเหนียว ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอร่าจากบริษัทจาหน่ายพันธุ์ปาล์มน้ามัน โดยปรับเกลี่ยพื้นที่ให้ราบ กำจัดวัชพืชและตอไม้ ระยะปลูก 10x10 เมตร ใช้ต้นกล้าอายุเฉลี่ย 10.59 เดือน ใส่ปุ๋ย 3 เดือน/ครั้ง มีการตัดแต่งทางใบเก็บผลร่วงหล่นบริเวณโคนต้น ป้องกันกำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน เก็บเกี่ยวผลผลิตทุก 15 วัน โดยใช้มีดขอด้ามยาวสำหรับต้นปาล์มที่มีอายุมากกว่า 8 ปี (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันตอบคำถามถูกอยู่ในช่วง 15-17 ข้อ (4) ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการตลาดประเด็นราคาผลผลิตไม่แน่นอนในระดับมาก โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้งกองทุนเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันคอยดูแลด้านราคาผลผลิต (6) จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่ามีจำนวน 1 ตัวแปรคือ แหล่งและระดับการได้รับความรู้ของเกษตรกร ที่มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางตรงกันข้ามกับความรู้เกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมัน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2029
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144896.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons