Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2032
Title: | ความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Operational success of community rice promotion and production centers in Pathum Thani Province |
Authors: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมาศ อยู่ ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา ชลาลัย หมวดสรทิพย์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ข้าว--เมล็ดพันธุ์--การผลิต ข้าว--ไทย--ปทุมธานี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคม และเศรษฐกิจของคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดปทุมธานี 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดปทุมธานี 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสาเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุม จังหวัดปทุมธานี 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน จังหวัดปทุมธานี ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะกรรมการศูนย์ฯ สองในสามเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 51-60 ปี สามในสี่มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา หนึ่งในสี่มีตาแหน่งทางสังคมเป็นกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการศูนย์ฯทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร สองในสามมีตำแหน่งเป็นกรรมการศูนย์ฯ มีระยะเวลาการดำรงตาแหน่งในศูนย์ฯ 10-12 ปี โดยมีพื้นที่นาเฉลี่ย 30.28 ไร่ และมีรายได้ต่ากว่า 350,000 บาทต่อปี รายได้จากการทำนาเฉลี่ย 437,800.00 บาทต่อปี 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน พบว่า คณะกรรมการศูนย์ฯมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การควบคุม ด้านการจูงใจ ด้านการดำเนินงาน ด้านการประสานงาน และด้านการวางแผน โดยมีค่าเฉลี่ย 4.09, 4.04, 3.97, 3.93 และ 3.89 ตามลาดับ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสาเร็จในการดาเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุม พบว่า คณะกรรมการศูนย์ฯมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความพอใจของทุกฝ่าย การบรรลุเป้าหมายความสาเร็จ การจัดหาและการใช้ทรัพยากร และกระบวนการปฏิบัติงาน โดยมีค่าเฉลี่ย 4.00, 3.96, 3.93 และ 3.85 ตามลาดับ 4) ปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านการควบคุม ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน โดยมีค่าเฉลี่ย 2.52, 2.30 และ 2.21 ตามลาดับ 5) ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการประสานงาน ด้านการควบคุม ด้านการจูงใจ และด้านการวางแผน โดยมีค่าเฉลี่ย 3.83, 3.75, 3.72, 3.57 และ 3.47 ตามลาดับ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2032 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144900.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License