Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2038
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการพยาบาลผู้ป่วยรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
Other Titles: The development of a case management model for patients with acute myocardial infarction
Authors: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญจง แซ่จึ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษดา จวนวันเพ็ญ, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การพยาบาล -- การบริหาร
ผู้ป่วย -- การดูแล
หัวใจ -- โรค -- การพยาบาล
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการดูแล ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในสถาบันโรคทรวงอก (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในสถาบันโรคทรวงอก (3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแล ผู้ป่วยรายกรณีที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูลมี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วย ภาวะกล้ามหัวใจตายเฉียบพลัน ประกอบด้วย ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่นอนพักรักษาตัวใน สถาบันโรคทรวงอก จำนวน 6 คน ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มาดูแลผู้ป่วยในสถาบันโรค ทรวงอก จำนวน 9 คน และผู้ให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จำนวน 12 คน 2) กลุ่มประเมินความเหมาะสมในการนำรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามหัวใจตายเฉียบพลันที่สร้างขึ้นไปใช้ ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ตรงในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประเด็นการสนทนา ที่สร้างจากแนวคิดการจัดการดูแลเชิงระบบร่วมกับกระบวนการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีตามแนวคิดเพาเวลล์ (Powell, 1996) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามหัวใจตายเฉียบพลัน ส่วนที่ 2 แบบประเมินความเหมาะสมในการนำรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยรายกรณีไปใช้เครื่องมือทั้ง 2 ส่วน ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่า CVI 0.87 และ 0.85 ตามลำดับ ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) สถาบันมีแนวทางการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย แต่การดำเนินการยังขาดการการประสานและส่งต่อ ระหว่างทีมสหวิชาชีพ (2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาท 2) องค์ประกอบด้านผู้ให้บริการหรือทีมสหวิชาชีพ 3) องค์ประกอบด้านผู้รับบริการหรือผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย 4) องค์ประกอบด้านชุมชม หรือโรงพยาบาลใกล้บัาน (3) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม กับบริบทของสถาบันโรคทรวงอก โดยมีค่าคะแนนความเชื่อมั่นโดยรวมทุกมิติเท่ากับ ร้อยละ 90.19 ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบที่พ้ฒนาขึ้นไปใช้ควรมีการนำสู่การทดลองปฎิบัติเต็มรูปแบบและมีการประเมินผลเป็นระยะ พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2038
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib128943.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons