Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2048
Title: มูลเหตุการเป็นหนี้นอกระบบของเกษตรกรในเขตอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
Other Titles: The informal loan causes of farmers in Pla Pak District of Nakhon Phanom Province
Authors: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นภา ศรีนวล, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--การเงิน
การกู้ยืมส่วนบุคคล
เงินกู้ส่วนบุคคล
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร (2) รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนเกษตรกร (3) มูลเหตุการเป็นหนี้นอกระบบของเกษตรกร และ (4) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับแนวทางการลดการเป็นหนี้ในครัวเรือนและหนี้นอกระบบ ผลการวิจัย พบว่า (1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและจบชั้นประถมศึกษา มีอายุเฉลี่ย 49.0 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.0 คน แรงงานทำการเกษตรเฉลี่ย 3.1 คน ทั้งหมดประกอบอาชีพการเกษตร ส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง เฉลี่ย 18.16ไร่ (2) รายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ย 71,590.2 บาทต่อปี รายจ่ายรวมเฉลี่ย 97,918.8 บาทต่อปี โดยส่วนใหญ่ของรายรับและรายจ่ายในครัวเรือนอยู่นอกภาคการเกษตร ทาให้เกษตรกรกลุ่มนี้มีหนี้เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 57.6 และมีหนี้ลดลงร้อยละ 20.7 ที่เป็นมูลเหตุของการมีหนี้อยู่ทั้งในและนอกระบบ (3) เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 98.9 เห็นว่ามูลเหตุการเป็นหนี้นอกระบบคือการที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย โดยสาเหตุที่มีความสาคัญในระดับมาก คือ การไม่มีอาชีพเสริม ขาดแหล่งเงินทุน/เงินกู้ไม่เพียงพอ ต้นทุนการผลิตสูง ปริมาณ/คุณภาพผลผลิตต่า การมีรายได้ต่า /ไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเกษตรและค่าใช้จ่ายนอกภาคการเกษตรสูง นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่มีผลต่อมูลเหตุการเป็นหนี้นอกระบบตามความคิดเห็นของเกษตรกรอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ รายจ่ายรวมและจำนวนหนี้สินในระบบมีผลต่อความคิดเห็นของเกษตรกรในเรื่องการขาดการส่งเสริมอาชีพจากภาครัฐทางการผลิตและเงินทุน (4) เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลเห็นว่าการฝึกอาชีพให้แก่เกษตรเป็นแนวทางการลดการเป็นหนี้ในครัวเรือนและการเป็นหนี้ในระบบ ซึ่งมีความเห็นว่าเป็นแนวทางที่สำคัญที่สุด ส่วนการลดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ในระบบ การพักชำระหนี้ การเพิ่มแหล่งเงินกู้ในระบบ มีความสาคัญลำดับถัดมา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2048
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130820.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons