กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2050
ชื่อเรื่อง: ความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่าไม้ของผู้มาเยือนน้ำตกโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Awareness of conservation of forest-based recreation resources among visitors to Ton Nga Chang waterfall, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุทรา สุนันทกรญ์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์--ไทย--สงขลา
การอนุรักษ์ป่าไม้
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้มาเยือน (2) ประเมินความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่ าไม้ของผู้มาเยือน (3) เปรียบเทียบความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่ าไม้ของผู้มาเยือน (4) ศึกษาความคิดเห็นของผู้มาเยือนเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะ และ (5) กาหนดแนวทางและกิจกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่าไม้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผู้มาเยือน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้มาเยือนส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-29 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีและยังกำลังศึกษาอยู่ ภูมิลา เนาอยู่ในจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อมาเล่นน้ำตกและเดินทางมากับกลุ่มเพื่อน โดยได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือการแนะนา ให้มาน้า ตกโตนงาช้างจากเพื่อน สมาชิกครอบครัว หรือคนรู้จัก (2) ความรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่าไม้อยู่ในระดับปานกลาง และมีความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่าไม้อยู่ในระดับสูง (3) จากการเปรียบเทียบความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร นันทนาการฐานป่าไม้ของผู้มาเยือน ปัจจัยที่ส่งผลให้ความตระหนักของผู้มาเยือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ อาชีพ ภูมิลำเนา รายได้ วัตถุประสงค์ของการมาเยือน จำนวนครั้งที่เคยมาเยือน ความถี่ในการ ท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่าไม้ แต่ระดับการศึกษา กลุ่มการเดินทาง และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้ ไม่มีผลต่อความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่าไม้ของผู้มาเยือน (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ การจัดการขยะที่เหมาะสม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการเพิ่มแสงสว่างบริเวณทางเดินในเวลากลางคืน (5) แนวทางและกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผู้มาเยือน 4 ประเด็น ได้แก่ การวางแผนจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากร การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดการผู้มาเยือน และการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130822.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons