Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2051
Title: | การพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสทียก หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร |
Other Titles: | Development of a patient care program for acute ST elevation myocardial infarction patients at the Accidental and Emergency Department in Jainad Narendra Hospital |
Authors: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา นิภาพร อรุณวรากรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา ประไพ บรรณทอง, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ผู้ป่วย -- การดูแล กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน -- การดูแล |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียก (Acute ST elevation Myocardial Infarction: STEMI) หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 22 คน การวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก บุคลากร และผู้ป่วยรวม 12 คน ประกอบด้วย อายุรแพทย์ 1 คน แพทย์เพิ่มพูนทักษะ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 8 คน พนักงานเปล 1 คน ผู้ป่วย 1 คน และการสนทนากลุ่ม พยาบาลวิชาชีพ 22 คน และพนักงานกู้ชีพ 5 คน (2) ระยะพัฒนาโปรแกรมและนำสู่การปฏิบัติโดยการสนทนากลุ่ม 3 ครั้ง และ นำไปทดลองใช้ จนได้รูปแบบที่สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 22 คน และพนักงานกู้ชีพ 5 คน เห็นพ้องกัน (3) ระยะประเมินผลโปรแกรม โดยประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ และบุคลากรทีมดูแลผู้ป่วย เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้โปรแกรม ได้แก่ อัตราของผู้ป่วยที่แพทย์ผู้ดูแลได้รับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที อัตราของผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ้มเลือดภายใน 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ z-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ในระยะที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วย STEMI ได้แก่ ผู้ปฏิบัติมีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น การมอบหมายผู้ดูแลในแต่ละขั้นตอนไม่ชัดเจน และขาดการนำข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ ของผู้ป่วยมาวิเคราะห์เพื่อ พัฒนางาน ระยะที่ 2 โปรแกรมการดูแลผู้ป่วย STEMI ประกอบด้วย การจัดอบรมเชิงปฏิบติการแก่ทีมผู้ดูแล การใช้โปสเตอร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแก่บุคลากรและผู้รับบริการ การคัดกรองผู้ป่วย STEM ด้วยแบบคัดกรองที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น การจัดสรรเครื่องมือและอุปกรณ์ให้เหมาะสม และการสร้างแนวปฏิบัติสำหรับผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน โดยบันทึกการทำงานทุกขั้นตอนในแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเพื่อการสื่อสารระหว่างทีมผู้ดูแลที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น ระยะที่ 3 การประเมินผลหลักการใช้โปรแกรม 6 เดือน พยาบาลวิชาชีพและทีมผู้ดูแลมีความพึงพอใจในการใช้โปรแกรม โดยให้ข้อมูลว่า โปรแกรมช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบุคลากรเกิดกวามตระหนักในการคัดกรอง และดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า อัตราผู้ป่วย STEMIM แพทย์ผู้ดูแลได้รับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที และ อัตราผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ้มเลึอดภายใน 30 นาที เมื่อมาถึงโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 66 เป็นร้อยละ 97.37 (p=.000) และจากร้อยละ 13.63 เป็นร้อยละ 33.33 (p=.001) ตามลำดับ พยาบาล และบุคลากรในทีมการดูแลมีความพึงพอใจต่อโปรแกรม โดยระบุว่าทำให้มีความรู้ และการปฏิบัติงานได้ดีขั้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2051 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib130261.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License