กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2056
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกรชาวไร่อ้อยคู่สัญญาโรงงานน้ำตาลสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An application of sugarcane production technology of contract farmers of Saraburi sugar factory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญา สีหาฤทธิ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อ้อย--การผลิต--ไทย--สระบุรี
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกร และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ เทคโนโลยีการผลิตอ้อยผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรชาวไร่อ้อยคู่สัญญาโรงงานน้ำตาลสระบุรี อายุเฉลี่ย 47.8 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และเป็นสมาชิกกลุ่ม ธ.ก.ส. เข้ารับการฝึกอบรม สัมมนาและประชุม เฉลี่ย 4.16 ครั้ง ได้รับข่าวสารเรื่องอ้อย จากเจ้าหน้าที่ โรงงานน้ำตาลสระบุรี มีประสบการปลูกอ้อยส่งเข้าโรงงานเฉลี่ย 9.96 ปี มีพื้นที่ถือทั้งหมดเฉลี่ย 153.99 ไร่ เป็นของตนเองเฉลี่ย 80.10 ไร่ ที่ดินเช่าเฉลี่ย 120.68 ไร่ ที่ดินอื่นๆ (ลูกไร่) เฉลี่ย 175.50 ไร่ ใช้พันธุ์อ้อย LK 94-11 ที่ได้รับรองพันธุ์จากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ผลผลิตทั้งหมดส่งให้แก่โรงงานน้ำตาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานน้ำตาลสระบุรี เฉลี่ย 1,319.75 ตัน ราคาเฉลี่ย 1,083.92 บาท/ ตันโรงงานน้ำตาล TN ลพบุรี เฉลี่ย 572.86 ตัน ราคาเฉลี่ย 1,091.55 บาท/ตันโรงงานน้ำตาลสิงห์บุรีเฉลี่ย 333.66 ตัน ราคาเฉลี่ย 1,094.44 บาท/ตัน โดยมีผลผลิตรวมทั้งหมด เฉลี่ย 1,365.45 ตัน ราคาเฉลี่ย 1,084.21 บาท/ตัน รวมรายได้ทั้งหมดในการจำหน่ายผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 1,500,690.14 บาท/ราย เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องมือการปลูกอ้อยเป็นของตนเอง เช่น รถบรรทุกอ้อย และรถตัดอ้อย 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตอ้อย พบว่า ด้านการปลูกอ้อย ส่วนใหญ่ปลูกอ้อยตนฝน โดยวิธีการใช้เครื่องปลูก ไถบุกเบิกด้วยผาน 3 แปรด้วยผาน 7 และมีการปลูกอ้อยระยะปลูกที่ 1.3 - 1.5 เมตร ตามคำแนะนำของบริษัท ไทยรุ่งเรืองวิจัยและพัฒนา ด้านการดูแลรักษาอ้อยส่วนใหญ่กำจัดวัชพืชด้วยวิธีใช้แรงงานคนถากหญ้าระหว่างแถวอ้อย และใช้สารเคมีอาทราซีน และพาราควอต กำจัดวัชพืชใน แปลงปลูกอ้อยที่ปลูก และเกษตรส่วนมากใส่ปุ๋ยเคมีในครั้งที่ 2 (ปุ๋ยแต่งหน้า) เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ส่วนการเก็บ เกี่ยวเมื่ออ้อยมีความหวานที่ 10 CCS ด้วยวิธีใช้แรงงานตัดอ้อย เกษตรกรสามารถนำรถบรรทุกอ้อยเข้าหีบใน โรงงานภายใน 24 ชั่วโมง การบำรุงรักษาอ้อยตอส่วนใหญ่ตัดแตงตออ้อยหลังการเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นยาคุมวัชพืชใน แปลงที่เผาใบ และใส่ปุ๋ยอ้อยตอ ตามคำแนะนำ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า เกษตรกรมีปัญหาการขาด แคลนแรงงานคนในการผลิตอ้อย ปัญหาพื้นที่เช่าเพาะปลูกอ้อยปรับขึ้นราคา และแหล่งน้ำไม่เพียงพอในการ เพาะปลูกอ้อย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2056
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
133431.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons