กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/205
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ และการประมงชายฝั่งสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of local curriculum in the supplementary science learning area on the topic of natural resources and coastal fisheries for Mathayom Suksa V students in Rattana Rangsan school cluster, Ranong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดวงเดือน สุวรรณจินดา นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ กาติณี กลีเมาะ, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา -- วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- ระนอง การวางแผนหลักสูตร -- ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ และการประมงชายฝั่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องทรัพยากรรมชาติ และการประมงชายฝั่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ (3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง ทรัพยกรธรรมชาติ และการประมงชายฝั่ง ผลการวิจัยปรากฎว่า (1) หลักสูตรท้องถิ่ง สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และการประมงชายฝั่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง ประกอบด้วยองค์ประกอบของหลักสูตร คือ ความเป็นมา หลักการ วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คำอธิบาย รายวิชา ผลการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อความเหมาะสมของหลักสูตรท้องถิ่นในด้านความรู้ ความรู้สึก และพฤติกรรมอยู่ในระดับเหมาะสมอย่างยิ่ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/205 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161959.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License