กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2061
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยสุนทรียสนทนาสำหรับพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the work motivation enhancement program by dialogue for professional nurses at Chon Daen Hospital, Phetchabun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล สุภัทรา ภักดีศรี, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ลดาวัลย์ รวมเมฆ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การจูงใจในการทำงาน พยาบาล--ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยและการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยสุนทรียสนทนา สำหรับพยาบาลวิชาชีพในแผนกผู้ป่วยในพิเศษโรงพยาบาลชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในพิเศษตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปจำนวน 8 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาล วิชาชีพ โดยทบทวนวรรณกรรม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสอบถามแรงจูงใจและแบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาม ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยสุนทรียสนทนา โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนาแก่พยาบาลวิชาชีพ และนำไปใช้ในแผนกผู้ป่วยในพิเศษโดยแบ่งกลุ่มสนทนาตามประเด็นปัญหาตามความสมัครใจใน 4 ประเด็นคือ 1) อัตรากำลังและตารางการปฏิบัติงาน 2) สวัสดิการและวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน 3) การสื่อสารในการปฏิบัติงาน 4) การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับงานประจำ โดยแต่ละกลุ่มรับผิดชอบกำหนดตารางเวลาในการทำสุนทรียสนทนา จนได้ข้อตกลงร่วมกัน ระยะที่ 3 เปรียบเทียบแรงจูงใจและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงามก่อนเริ่มการวิจัยและหลังจากทุกกลุ่มได้รับข้อสรุปร่วมกันซึ่งใช้เวลา 11 เดือน ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มพยาบาลวิชาชีพในแผนกผู้ป่วยในพิเศษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางสัมภาษณ์เซิงลึก แบบสอบถามแรงจูงใจ และแบบสอบถามการประเมินสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่พัฒนาโดย สมจิตร พูลเพ็ง (2550) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และทดสอบความเที่ยงกับพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชนแดน 20 คน ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.86 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าหลังการใชัสุนทรียสนทนาพยาบาลวิชาชีพ ในแผนกผู้ป่วยในพิเศษ มีแรงจูงใจใน การปฏิบัติงาน และการประเมินสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน สูงขื้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน การทำงานร่วมกันเป็นทีมและพยาบาลวิชาชีพ มีความพึงพอใจในงานสูงขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2061 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib130705.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License