กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2064
ชื่อเรื่อง: การบริโภคน้ำนมควายพันธุ์มูร่าห์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumers' opinions toward Murrah buffalo milk consumption in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สราญรัตน์ ไพทักษ์ศรี, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
น้ำนม--ไทย--กรุงเทพฯ
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (2) พฤติกรรมการบริโภคนมควายพันธุ์มูร่าห์ของผู้บริโภค (3) ความรู้และทัศนคติการบริโภคน้ำนมควายพันธุ์มูร่าห์ของผู้บริโภค (4) ความคิดเห็นการบริโภคน้ำนมควายพันธุ์มูร่าห์ ของผู้บริโภค และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริโภคน้ำนมควายพันธุ์มูร่าห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 60.7 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 31.61 ปี ร้อยละ 29.0 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 73.9 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 34,928.71 บาท มีผู้บริโภคนมควายในครอบครัวเฉลี่ย 1.70 คน อายุผู้บริโภคในครัวเรือนเฉลี่ย 30.22 ปี (2) พฤติกรรมการบริโภคน้ำนมควายพบว่า กลุ่ม ตัวอย่างมีความถี่ในการบริโภคสูงสุด เฉลี่ย 5.18 วันต่อสัปดาห์ จำนวนครั้งที่บริโภคเฉลี่ย 1.11 ครั้ง/วัน ร้อยละ 56.8ดื่มช่วงเช้า ร้อยละ 66.3 มีการบริโภคน้ำนมควายสม่ำเสมอเท่ากันทุกวัน ร้อยละ 72.9 ได้แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับนมควาย พันธุ์มูร่าห์จากเพื่อน ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.9 สาเหตุในการเลือกบริโภคนมควายพันธุ์มูร่าห์คือ เพื่อสุขภาพ ร้อยละ60.4 บุคคล หรือแหล่งที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อนมควายพันธุ์มูร่าห์ คือ ตัวเอง ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเฉลี่ยต่อคน 277.26 บาทต่อคนต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายในครอบครัวเฉลี่ย 1,503.10 บาทต่อเดือน โดยส่วนใหญ่บริโภคนมสด ร้อย ละ 42.9 ความรู้สึกหลังจากที่ได้ดื่มนมควายพันธุ์มูร่าห์ คือ ดื่มแล้วสุขภาพดีขึ้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.2 ซื้อผลิตภัณฑ์ นมควายจากร้านมูร่าห์เฮ้าส์ ร้อยละ 55.4 เห็นว่าความสะดวกในการเดินทางมาซื้ออยู่ในระดับปานกลาง (3) กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.1 มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคนมสดประเภทต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด มีทัศนคติต่อ การบริโภคนมควายอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.46 (4) สำหรับความคิดเห็นต่อการบริโภคนมควายพันธุ์มูร่าห์ที่ เป็ นอยู่ในปัจจุบันพบว่า มีความคิดเห็นมากที่สุดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการขาย และด้าน ช่องทางการจัดจำหน่าย (5) ส่วนปัญหาในการบริโภคน้ำนมควายพันธุ์มูร่าห์ พบว่า ด้านน้ำนม กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่ร้อยละ 88.5 ประสบปัญหาในเรื่อง มีอายุในการเก็บไว้ได้ไม่นาน ด้านราคา มีปัญหาจากราคาค่อนข้างสูงกว่านม ชนิดอื่น ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ประสบปัญหาร้านค้าจำหน่ายมีน้อย ไม่มีการขายในซุปเปอร์มาเก็ต ด้านการส่งเสริมการขาย ประสบปัญหา ไม่มีการกระจายสินค้า ช่องทางการขายตามห้างร้านมินิมาร์ททั่วๆไป กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.2 เสนอว่า ควรประชาสัมพันธ์ ในเรื่องของคุณประโยชน์ของน้ำนมควายที่มีผลต่อสุขภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2064
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
133863.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons