กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2066
ชื่อเรื่อง: | การจัดการการผลิตและการตลาดเกษตรปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกรพอเพียงบึงบอน ตำบลบึงบอน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Management of production a marketing of safe agricultural products by the Buengbon Por Piang Farmer's Group in Buengbon Sub-district, Nongseu District, Pathum Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา บุญยัง มากชุ่ม, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เกษตรกรรม--ไทย--ปทุมธานี--การจัดการ. |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปของกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตเกษตรปลอดภัย (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการผลิตและการตลาดเกษตรปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตเกษตรปลอดภัย (3) แนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดเกษตรปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรปลอดภัย ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.0 ปี สมรสแล้ว ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.1 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 8.6 ไร่ ส่วนใหญ่เกษตรกรเช่าพื้นที่ในการทำเกษตร การดำเนินงานของกลุ่มพบว่ามีการบริหารจัดการหลายด้านได้แก่ กลุ่มและการบริหารกลุ่ม เครือข่าย การผลิต การเรียนรู้ การตลาด กองทุนของกลุ่ม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและชุมชน กิจกรรมอื่นๆ ของกลุ่ม และการประเมินผล 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการผลิตและการตลาดพบว่าปัจจัยภายในกลุ่ม ได้แก่ ความสามารถและความซื่อสัตย์ของประธานและคณะกรรมการบริหารกลุ่ม การทดลองทาด้วยตนเอง การเรียนรู้ภายในกลุ่ม การศึกษาดูงาน มีความสาคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการนำปัญหาไปปรับปรุงแก้ไข การวิเคราะห์ดินและน้ำ การปฏิบัติตามแผนการตลาด มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยภายนอกกลุ่มได้แก่ นโยบายของรัฐ บทบาทของเจ้าหน้าที่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ ปัจจัยการผลิต แหล่งจำหน่าย การปลอมปน มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านเงินทุน ราคาของสินค้า มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 3) แนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดของกลุ่มพบว่าผู้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาได้แก่ เกษตรกร ผู้ค้า ผู้บริโภค ผู้ส่งเสริม โดยบทบาทเกษตรกรควรมี การวางแผนการผลิตและการตลาด ความรู้ในการผลิต มีความอดทน ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมจริยธรรมในการผลิต บทบาทผู้ค้าควรมี การโฆษณาเพิ่มช่องทางการจำหน่าย มีคุณธรรมจริยธรรม ความซื่อสัตย์ มีจิตสำนึกค้าขายอย่างเป็นธรรม บทบาทผู้บริโภค ควรมีการหาความรู้ข้อดีเกษตรปลอดภัย เปลี่ยนแปลงความรู้สึก ทัศนคติ ต่อเกษตรปลอดภัยและให้การสนับสนุนเกษตรปลอดภัย บทบาทผู้ส่งเสริม ให้ความรู้เกษตรกร ตรวจสอบการค้าให้เป็นธรรม ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค และการส่งเสริมด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2066 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
133896.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License