กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2070
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพกับพยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparison of quality of work life between professional nurses and advanced practice nurses at regional hospitals and general hospitals on the Public Health Inspection |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข ประภาพร บุญเพิ่ม, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รัชนี นามจันทรา วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ พยาบาลวิชาชีพ--ภาระงาน คุณภาพชีวิตการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ (2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาล และการผดุงครรภ์ และ (3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และพยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฎิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 237 คน ได้ทำกการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มเชิงเดียว และประชากรเป็นพยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ดังกล่าว จำนวน 121 คน เครี่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล และคุณภาพชีวิตการทำงาน แบบสอบถามผ่านการตววจสอบความตรงตามเนี้อหา และวิเคราะห์หาความเที่ยงโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณทาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.48 , S = 0.44) (2) คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (x = 3.57, $= 0.41) (3) พยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแเนกเป็นรายด้านพบว่าคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโอกาสในการใช้และพัฒนาความสามารถของบุคคล 2) การบูรณาการทางสังคมในหน่วยงานและ 3) ความรับผิดชอบของชีวิตการงานที่มีต่อสังคมแต่คุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน 3 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ 1) ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2) สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ และ 3) การทำงานกับชีวิตโดยรวมของบุคคลมีข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้คือ ควรมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ให้สูงขึ้น และพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลผู้ชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ควรได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานทั้ง 3 ด้าน ข้างต้นให้อยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2070 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib133803.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License