Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2076
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาของหัวหน้าหอผู้ป่วยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ |
Other Titles: | The relationship of the adversity quotient transformational leadership with problem-focus coping of head nurse in the three southern provinces |
Authors: | เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา. ปภาสินี แซ่ติ๋ว, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ พยาบาล -- ความเครียดในการทำงาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเผชิญความเครียด แบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาหัวหน้าหอผู้ป่วยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 162 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น แจก แบบสอบถามรวมทั้งเก็บรวบรวมกลับคืนทางไปรษณีย์ได้ร้บแบบสอบถามคืน จำนวน 162 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีกรอบแนวคิดทางทฤษฎีในการวิจัยดังนี้ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ StoItz (2000) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ Avolio, Bass and Jung (1999) และพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ Cook and Happner (1997) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .86 แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เท่ากับ 0.93 และแบบสอบถามพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา เท่ากับ 0.84 ความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติ Multiple regression ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคอยู่ในระดับสูง (X = 3.81, S.D. = 0.44) มีภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูง (X = 4.22, S.D. = 0.51) มีพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้น การ แก้ปัญหาอยู่ในระดับสูง (X= 3.76, S.D. = 0.54) (2) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคและ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาได้ร้อยละ 65.70 (R2 = 0.657 ) โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสามารถในการพยากรณ์พฤติกรรมการเผชิญ ความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด (Beta = 0.65,t = 10.06 p< 0.05) ส่วนความสามารถในการเผชิญ ปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา ได้น้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญทางสถิติโดยเขียนในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน zพฤติกรรมการเผชิญความเคลียดมุ่งเน้นการแก้ปัญหา = 0.65Z*ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง+ 0.07Zความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2076 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib134618.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License