Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2086
Title: | การจัดการน้ำเพื่อการทำนาหว่านน้ำตมของชาวนาในพื้นที่ชลประทาน ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี |
Other Titles: | Water management for broadcasting paddy rice fields by rice farmers in irrigated area of Don Chedi Sub-district, Phanom Thuan District, Kanchanaburi Province |
Authors: | พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา วีรธรรม ชูใจ, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ การจัดการน้ำ การทำนา น้ำในการเกษตร |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของชาวนา 2) การใช้น้ำและปัญหาการใช้น้ำชลประทานเพื่อการทำนา 3) ผลกระทบและพฤติกรรมการใช้น้ำชลประทานเพื่อการทำนา และ 4) ประโยชน์ ข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการทำนา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ชาวนาที่ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.98 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีรายได้จากการขายข้าวและมีเงินทุนที่ใช้ทำนาในรอบปีที่ผ่านมา 50,000 บาทขึ้นไป ส่วนใหญ่มีหนี้สิน ทำนา 2 ครั้งต่อปี มีพื้นที่นาเฉลี่ย 18 ไร่และเป็นของตนเอง 2) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มอยู่บริเวณปลายคูส่งน้ำและรับน้ำจากนาข้างเคียง มีปัญหาด้านการใช้น้ำและความต้องการในเรื่องการจัดสรรน้ำไม่ตรงตามกาหนดเวลา ปริมาณน้ำที่ได้รับไม่เพียงพอและการจัดสรรน้ำไม่สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของข้าว มีปัญหาความขัดแย้งของสมาชิกผู้ใช้น้ำในเรื่องความเห็นแก่ตัวในการใช้น้ำ 3) สภาพพื้นที่และคูส่งน้ำบางช่วงตื้นเขิน ชารุด พฤติกรรมการใช้น้ำอย่างอิสรเสรีทำให้มีการปลูกข้าวไม่พร้อมกัน จึงส่งผลกระทบให้เกิดการแย่งชิงน้ำ การละเมิดสิทธิ์ การทำลายบานประตูเปิดปิดน้าe 4) การจัดการทรัพยากรน้ำก่อให้เกิดผลประโยชน์โดยรวมต่อครอบครัว อาชีพ สิ่งแวดล้อมและชุมชน ชาวนาต้องการให้มีฐานข้อมูลทรัพยากรน้า จัดตั้งองค์กรจัดการทรัพยากรน้ำ แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และกำหนดข้อตกลง กฎกติกา กฎระเบียบการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ และมีข้อเสนอแนะให้เริ่มทำนาพร้อมเพรียงกัน ต้องการให้สำนักชลประทานจัดสรรน้ำอย่างมีระบบแบบแผนและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2086 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
133898.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License