กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2088
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมในองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำปาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relationship between organizational justice and organizational citizenship behavior perception of professional nurses at community hospitals, Lampang Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา วรรณี ตปนียากร, อาจารย์ที่ปรึกษา สมศรี จันทร์เทวี, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ ความยุติธรรม องค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความยุติธรรมใน องค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำปาง (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมในองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำปาง และ (3) อิทธิพลของความ ยุติธรรมในองค์การต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำปาง จำนวน 532 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ความยุติธรรมในองค์การของ พยาบาลวิชาชีพ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์หาความเที่ยงได้เท่ากับ 0.95 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ความยุติธรรมในองค์การตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ใน ระดับปานกลาง และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ใน ระดับสูง (2) ความยุติธรรมในองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.44) และ (3) ความยุติธรรมในองค์การด้านกระบวนการทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้ ร้อยละ 18 (R2=0.180) เมื่อเพิ่มตัวแปรด้านปฎิสัมพันธ์เข้าไปในสมการทำให้การทำนายพฤติกรรมการ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.2 (R2=0.192) ความยุติธรรมด้านปฎิสัมพันธ์สามารถ ทำนายพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้รัอยละ 1.1 อย่างมีนัยสำกัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2088 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib137449.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License