กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2089
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing research competency of professional nurses at community hositals in Public Health Inspection Region 17
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
วงเดือน ปั้นดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิริยา วิรานันท์, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พยาบาลวิชาชีพ
วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory research) วัตถุประสงค์เพื่อ (1 ) ศึกษาปัจจัย ทางการบริหารการวิจัยและสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการ สาธารณสุขที่ 17 (2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ร่วมพยากรณ์สมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มการพยาบาล มาไม่น้อยกว่า 1 ปี โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุข ที่ 17 ซึ่งได้จากลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบ Multi- stage sampling จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) สมรรถนะด้านการวิจัย (3) ปัจจัยทางการบริหารการวิจัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่า CVI-0.94 และ วิเคราะห์ความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบราค เท่ากับ 0.94 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysts) ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ ในด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและ ด้านทักษะเกี่ยวกับการทำวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 18.98, S.D. = 2.00 และ X = 2.90, S.D. = 0.75 ตามลำดับ) ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการทำวิจัยอยู่ในระดับดี ( X = 3.84, S.D. = 0.53) (2) ปัจจัยทางการบริหารการวิจัยโดยรวมมี คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.77, S.D. = 0.89) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารด้านวิชาการ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ( X = 2.92, S.D. = 0.83) รองลงมาคือ ด้านนโยบายและโครงสร้างเกี่ยวกับการวิจัย (X = 2.78, S.D. = 0.89) ส่วนด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารด้านทรัพยากร มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด (X =2.60, S.D. = 0.94) (3) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์สมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 17 ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารการวิจัยด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารด้านวิชาการ ระดับการศึกษา ความสนใจที่จะทำงานวิจัยทางการพยาบาล ปัจจัยทางการบริหาร การวิจัยด้านโครงสรัางและนโยบายเกี่ยวกับการวิจัยและอายุของพยาบาลวิชาชีพ โดยทั้ง 5 ตัวแปร สามารถพยากรณ์ สมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ ได้รัอยละ 31.00 ดังนั้น ผู้บริหารควรสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพได้เพิ่มพูน สมรรถนะด้านการวิจัยโดยการพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับการวิจัยมีการกำหนดโครงสร้างและนโยบายการวิจัยที่ดี และชัดเจน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2089
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib137450.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons