Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2090
Title: การพัฒนารูปแบบการนิเทศการพยาบาลสำหรับผู้นิเทศในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก
Other Titles: Development of a nursing supervision model for supervisors at Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center in Nakhon Nayok Province
Authors: ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, 2495- อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพักตร์ พิบูลย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทิพย์ จันทร์พงษ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี -- การบริหาร
การพยาบาล -- ไทย -- นครนายก
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการนิเทศการพยาบาล (2) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี กลุ่มตัวอย่างคือ (1) กลุ่มผู้นิเทศ ได้แก่หัวหน้าหน่วยงานการพยาบาลและผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานการพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานการพยาบาลศัลยกรรม งานการพยาบาลสูติ-นรีเวชกรรม งานการพยาบาลอายุรกรรม งานการพยาบาลกุมารเวชกรรม จำนวน 13 คน (2) กลุ่มผู้รับการนิเทศ ได้แก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานการพยาบาล ที่เลือกและมีอายุงาน 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสำรวจสภาพการณ์การนิเทศการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (2) แบบทดสอบความรู้การนิเทศการพยาบาลของผู้นิเทศ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้นิเทศเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ของรูปแบบการนิเทศการพยาบาล (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศการพยาบาล เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และเครื่องมือชุดที่ 2, 3, และ 4 มีค่าความตรงเท่ากับ 0.96, 0.98, และ 0.96 ตามลำดับและเครื่องมือชุดที่ 3 และ 4 ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.84 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์,ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนี้อหา การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละค่า ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired t-test และ The Wilcoxon Matched -pans signed-ranks Test ผลการวิจัยพบว่า (1) ได้รูปแบบการนิเทศการพยาบาลที่ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การ เตรียมผู้นิเทศการพยาบาล 2) การกำหนดข้อตกลงการนิเทศร่วมกัน 3) การรับฟังและร่วมกำหนดประเด็นการ นิเทศ (Listen) 4) การสำรวจสถานการณ์และพัฒนาแผนการนิเทศ 5) การปฏิบัติการนิเทศ 6) การทบทวน (2) ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศการพยาบาลของผู้นิเทศหลังการเสริมความรู้สูงกว่าก่อนเสริมความรู้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศการพยาบาลของผู้นิเทศก่อน และหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ รูปแบบการนิเทศการพยาบาลของผู้รับการนิเทศก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2090
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib137455.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons