กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2102
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัยและสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงานกับความสุขในการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationships between generations, magnetic work environment, and happiness at work as perceived by professional nurses in Bangkok hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา วรรณภา ประไพพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา ฐิตารีย์ ยงค์ประวัติ, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ พยาบาล -- ไทย ความพอใจในการทำงาน -- ไทย สภาพแวดล้อมการทำงาน -- ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสุขในการ ทำงานและสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ (2) เปรียบเทียบ ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ระหว่างกลุ่มวัยเจเนอเรชั่น เอ็กซ์ และเจเนอเรชั่น วาย (3) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัย สภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน กับความสุขในการทำงานของ พยาบาลวิชาชีพ และ (4) วิเคราะห์อำนาจในการทำนายของกลุ่มวัย และสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการ ทำงานที่มีต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลประจำการกลุ่มวัยเจเนอเรชั่น เอ็กซ์ และเจเนอเรชั่น วาย ที่ ปฎิบัติงานในโรงพยาบาลกรุงเทพ อย่างน้อย 1 ปี จำนวน 176 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน และ แบบวัดความสุขในการ ทำงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ ครอนบาค เท่ากับ 0.919 และ 0.917 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมล ได้เแก่ การแจกแจงความถี่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปาน กลาง และสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (2) พยาบาล วิชาชีพ ที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น วาย มีความสุขในการทำงานสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพ ที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่น เอ็กซ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 (3) กลุ่มวัยและสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงานมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) สภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน สามารถทำนายความสุขในการทำงานของพยาบาล วิชาชีพได้ ร้อยละ 8.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2102 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib139381.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License