กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2110
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานของคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operation of community enterprise committees in Muang District of Buengkan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมพล เขตบุรี, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--บึงกาฬ
วิสาหกิจชุมชน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคณะกรรมการ วิสาหกิจชุมชน (2) การดำเนินงานของคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน ผลการศึกษาพบว่า (1) คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.43 ปี สมรส แล้ว จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จานวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.91 คน ระยะเวลาเข้ามาทำหน้าที่ คณะกรรมการและเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 3.89 และ 4.44 ปี ตามลำดับ ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรม เรื่องวิสาหกิจชุมชน แรงจูงใจที่เข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดย แรงจูงใจระดับมากที่สุด ในเรื่องต้องการรายได้เสริม ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สร้างอาชีพในระดับชุมชนและ ครอบครัว และวิสาหกิจชุมชนได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐและสถาบันการเงิน สำหรับการได้รับความรู้ เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน จากสื่อสิ่งพิมพ์ระดับน้อยที่สุด ส่วนใหญ่ประกอบการเกษตรเป็นอาชีพหลัก รับจ้างทั่วไป เป็นอาชีพรอง มีพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 25.20 ไร่ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.98 คน ใช้เงินทุนของตนเองในการ ประกอบอาชีพการเกษตร มีรายได้เฉลี่ยต่อปีจากอาชีพหลักและอาชีพรอง 278,050.67 และ 69,504.70 บาท ตามลำดับ และจากการร่วมกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนเป็นค่าตอบแทนแรงงานและเงินปันผล 1,635.08 และ 1,267.38 บาท ตามลำดับ มีหนี้สิน มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อปีของครัวเรือนนอกและในภาคเกษตร 150,345.45 และ 40,980.77 บาท ตามลำดับ (2) การดำเนินงานของคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนระดับปานกลางในภาพรวม และ ในกิจกรรมการดำเนินงานการบริหารจัดการ 4 ประเด็น ได้แก่ การเงิน การผลิต องค์กรและสมาชิก และการตลาด ส่วนระดับน้อยในการติดตามประเมินผล (3) การดำเนินงานของคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนมีปัญหาระดับปาน กลางในการบริหารจัดการการตลาด องค์กรและสมาชิก การผลิต การเงิน และในภาพรวม ส่วนการติดตาม ประเมินผลมีปัญหาระดับมาก (4) ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้เรื่อง การทาธุรกิจ การตลาด การแปรรูปผลผลิต และการทาบัญชีการเงิน ตลอดจนการจัดหาตลาดจาหน่ายผลิตภัณฑ์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2110
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134501.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons