กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2113
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการบริโภคเบียร์ในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the consumption of beer in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วสุ สุวรรณวิหค อธิวัฒน์ ลาภหลาย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.วิชาเอกเศรษฐศาสตร์การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การศึกษาเฉพาะกรณี เบียร์ บริโภคกรรมแง่โภชนาการไทย บริโภคกรรม (เศรษฐศาสตร์)ไทย เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แง่เศรษฐกิจไทย การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์วิจัย การศึกษาอิสระเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการบริโภคเบียร์ในประเทศไทย และ 2) ศึกษาการดำเนินนโยบายและมาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการลดการบริโภคเบียร์ในประเทศไทย วิธีการศึกษาประกอบด้วยทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพ ส่วนของการศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบจำลองสมการถดถอยพหุคูณ ตัวแปรในแบบจำลองอ้างอิงจากทฤษฎีอุปสงค์เป็นหลักและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรตาม คือ ปริมาณการบริโภคเบียร์ในประเทศไทย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ราคาตลาดเบียร์ รายได้ผู้บริโภค ราคาตลาดสุรา การบริโภคในอดีต ช่วงเวลาแต่ละไตรมาส และการใช้มาตรการของรัฐ ส่วนของการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเกี่ยวกับวิธีการและผลของการดำเนินนโยบายภาครัฐในช่วงเวลาที่ผ่านมา ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 ถึงปีงบประมาณ 2561 รวบรวมจากหน่วยงานของรัฐ กฎหมาย บทความในสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการบริโภคเบียร์ในประเทศไทย ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ ราคาตลาดเบียร์ การบริโภคในอดีต และช่วงเวลาแต่ละไตรมาส และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการบริโภคเบียร์ในประเทศไทย ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ รายได้ผู้บริโภค และการใช้มาตรการของรัฐบางมาตรการ โดยเมื่อรายได้ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและเมื่ออยู่ในช่วงไตรมาส 1 และ 4 ของปี จะทำให้ปริมาณการบริโภคเบียร์เพิ่มขึ้น แต่เมื่อราคาเบียร์เพิ่มขึ้น เมื่อไตรมาสก่อนมีอัตราการบริโภคเพิ่มขึ้น เมื่อภาครัฐใช้มาตรการทางภาษี และเมื่ออยู่ในช่วงไตรมาส 3 ของปี จะทำให้ปริมาณการบริโภคเบียร์ลดลง 2) การใช้มาตรการทางภาษีแต่ละครั้งได้ผลที่แตกต่างกันไป โดยการเพิ่มอัตราภาษีตามปริมาณจะทำให้ปริมาณการบริโภคเบียร์ลดลงได้ชัดเจนกว่าอัตราภาษีตามมูลค่า แต่มาตรการที่เพิ่มอัตราภาษีเพียงเล็กน้อยจะไม่สามารถลดปริมาณการบริโภคเบียร์ได้เนื่องจากอำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงไม่มากนัก |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2113 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161018.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License