กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2120
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of factors affecting Thai exports to Lao People's Democratic Republic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนี กังวานพรสิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรสุธี อุดมทองเกษม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การส่งออก--ไทย
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
ไทย--การค้ากับต่างประเทศ--ลาว
ลาว--การค้ากับต่างประเทศ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตธุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะการค้าทางด้านการส่งออกสินค้าของประเทศ ไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (2) ศึกษาปัจจัยที่กำหนดการส่งออกของประเทศไทยไปยัง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วง พ.ศ. 2536-2547 และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราเงิน เฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ ตามแนวคิดและทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคโดยเปรียบเทียบ ในช่วง พ.ศ. 2537-2547 การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิซึ่งเป็นข้อมูลรายปี ระหว่างปี พ.ศ. 2536-2547 โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นสองส่วน คือการวิเคราะห์เชิงพรรณนา และเชิงปริมาณ ซึ่งใช้การ วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง ผลจากการศึกษาภาวะการค้าทางด้านการส่งออกสินค้าของประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวพบว่าไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าลาวมาโดยตลอด และมูลค่าการส่งออกจาก ไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้นมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรค ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้านอกระบบ ขั้นตอนและระเบียบการส่งออกของไทย ซึ่งมีขั้นตอนที่ยู่งยากซับซ้อน การคืนภาษีอากรล่าช้า การจัดเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักร และชิ้นส่วนในอัตราสูง การขาดแคลน บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องการล้า การกีดกันทางการค้าของรัฐบาลลาว และที่สำคัญคือ การขาด ข้อมูลการตลาดที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในเรื่องการค้า ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนพบว่าระดับรายได้ประชาชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับมูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี และสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ ในส่วนของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ผลการศึกษา พบว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทของประเทศไทยต่อสกุลเงินกีบของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสัมพันธ์กับผลต่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย กับอัตราเงิน เฟ้อของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีอำนาจซื้อเสมอภาคโดยเปรียบเทียบ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2120
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
113535.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons