กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2121
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมและบทบาทของสมาชิกในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Participation and role of member in farm woman group operation in Mueang District of Mueang Mae Hong Son Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภชัย ใจยอด, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร--ไทย--แม่ฮ่องสอน
การมีส่วนร่วมของเกษตรกร--ไทย--แม่ฮ่องสอน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมและบทบาทของสมาชิกในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางด้าน เศรษฐกิจ สังคมและปัจจัยอื่นๆ 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 3) ความคิดเห็นต่อบทบาทการเข้าร่วม ในการดำเนินงานในกิจกรรม 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมร่วมในการดำเนินงานในกิจกรรม 5) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัด แม่ฮ่องสอน ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 44.58 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา ความถี่ในการติดต่อเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรเฉลี่ย 1.38 ครั้ง ระยะเวลาการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 8.43 ปี ประสบการณ์การฝึกอบรมด้านการเกษตรเฉลี่ย 3.13 ครั้งต่อปี การรับข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอยู่ในระดับมากที่สุด รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 5,095.68 บาท/เดือน มีขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.83 ไร่ มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.12 คน ระดับการมีส่วน ร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อ บทบาทการเข้าร่วมในการดำเนินงานในกิจกรรมของกลุ่มอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วน ร่วมในการดำเนินงานในกิจกรรมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พบว่า มีตัวแปร 6 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญยิ่งทาง สถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ ประสบการณ์การฝึกอบรมด้านการเกษตร ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวนแรงงานในครัวเรือน ขนาดพื้นที่ทำการเกษตร และรายได้ครัวเรือน และมีตัวแปร 1 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา ปัญหาของสมาชิกแม่บ้านเกษตรกร ด้าน คณะกรรมการและสมาชิก การดำเนินงาน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริม อยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะเห็นควรมี การพัฒนาฝีมือโดยการศึกษาดูงานภายนอก การนัดหมายเวลาในการดำเนินงานหลังจากการทำงานหลัก และ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรเป็นคนในท้องที่เป็นหลัก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2121
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135039.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons