Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/214
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ศึกษากรณี ค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
Other Titles: Legal problem concerning the Protection for Motor Vehicle Accident Victims Act B.E. 2535 (1992) : a study on third property damage indemnity
Authors: มาลี สุรเชษฐ
ฐิตินันท์ อินทรปาลิต, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุเมธ จานประดับ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ประกันอุบัติเหตุ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ค่าเสียหาย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาและความสาคัญของปัญหาการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเกี่ยวกับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินผู้อื่น (2) ศึกษาประวัติแนวคิดทฤษฎีและหลักการการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเกี่ยวกับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินผู้อื่น (3) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเกี่ยวกับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกทั้งของไทยและต่างประเทศ (4) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเกี่ยวกับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินผู้อื่น (5) นำหลักที่ศึกษามาเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับความเสียหายที่มีต่อทรัพย์สินผู้อื่น งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสาร โดยรวบรวมค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ วารสาร บทความ ข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ (website) ที่เกี่ยวข้องของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนตัวบทกฎหมายทั้งของไทยและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ยังมีปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตความคุ้มครอง การบังคับใช้กฎหมายละเมิด อัตราเบี้ยประกนภัย จำนวนเงินที่เอาประกันภัย และประเภทของการประกนภัยรถยนต์ โดยเมื่อเกิดอุบัติภัยทางรถยนต์ขึ้น หากมีความเสียหายของทรัพย์สิน เกิดขึ้น และรถยนต์คันที่ก่อเหตุละเมิดยอมรับผิด และทางประกันภัยภาคสมัครใจไว้ซึ่งรวมความคุ้มครอง ทรัพย์สินไว้ผู้เสียหายก็จะได้รับการชดใช้เยียวยาได้เร็วขึ้น ดังเช่น ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ในมลรัฐนิวยอร์ค และแคลิฟอร์เนีย และประเทศอิตาลี ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้คือ รัฐบาลต้องกาหนดนโยบายบังคับให้ประชาชนซึ่งใช้รถยนต์ ต้องซื้อกรมธรรม์ประกนภัยไว้สองฉบับคือ (1) ประกนภัยภาคบังคับเพื่อคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และอนามัย ของผู้ประสบภัยจากรถยนต์ หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ (2) ประกันภัยภาคสมัครใจเพื่อคุ้มครองความ เสียหายทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เพื่อจะช่วยเยียวยา บรรเทาความเสียหายเกี่ยวกับ ความเสียหายของทรัพย์สินบุคคลภายนอกได้ทันท่วงที อันจะนำพาประโยชน์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่สังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/214
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib143893.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.