Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2157
Title: การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Cassava Mealy bug control by farmers in Pakham District of Buri Ram Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลิ้นจี่ เพ็ชรนิล, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
แมลงศัตรูพืช--การควบคุม
เพลี้ย--การควบคุม
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง (3) สภาพการผลิตมันสำปะหลัง (4) วิธีป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง และ(5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 47.65 ปี ส่วนมากจบการศึกษาภาคบังคับ(ป.4,ป.6) มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.50 คนพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 34.98 ไร่ มีแรงงานเฉลี่ย 2.59 คน รายได้เฉลี่ย 242,142.27 บาทต่อปี ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร รายจ่ายเฉลี่ย 177,309.62 บาท ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายนอกภาคการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้สินเป็นหนี้สินในระบบเฉลี่ย 84,917.68 บาท หนี้นอกระบบเฉลี่ย 18,368.90 บาท (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับมันสำปะหลังอยู่ในระดับปานกลาง (3) เกษตรกรมีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 19.61 ปี พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 31.45 ไร่ ไถและตากดินเฉลี่ย 10.06 วัน ส่วนใหญ่ปลูกใน ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เก็บพันธุ์มันสำปะหลังไว้เอง คือ ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 มากกว่าครึ่งไม่แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก กำจัดวัชพืชเฉลี่ย 2.6 ครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 40.08 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ไม่สุ่มตรวจแปลงและไม่ให้น้าในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรไม่ผลิตและอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ มากกว่าครึ่งสวมอุปกรณ์ป้องกันไม่ครบและฉีดพ่นโดยคว่าหัวฉีดเหนือทรงพุ่มต้นมันสำปะหลัง เก็บเกี่ยวอายุเฉลี่ย 10.76 เดือน (4) พบว่าเกษตรกรยังมีปัญหาด้านระยะเวลาตากดิน การใช้ท่อนพันธุ์สะอาด แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก การสุ่มตรวจแปลง การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ การใช้และสวมอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี การปลูกพืชอื่นทดแทนอยู่ในระดับปานกลาง มีเฉพาะปัญหาการให้น้าในช่วงฤดูแล้งที่มีปัญหาในระดับมาก
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2157
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
135267.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.46 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons