กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2159
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจต่อจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล และความพึงพอใจในบริการพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of case management in patients with percutaneous coronary intervention on length of stay and nursing service satisfaction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัญญาณัฐ บุญ-หลง, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
โรงพยาบาล -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล และ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการพยาบาลของ ผู้ป่วยระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับบริการพยาบาลแบบปกติ และผู้ป่วยที่ได้รับบริการพยาบาล โดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้ป่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคก้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 36 คน ที่ ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงและจับคู่ตามอายุ เพศ และชนิดของการขยายหลอดเลือดหัวใจ ก่อนแบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการปฏิบัติสำหรับผู้ไห้บริการในการ จัดการรายการในผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ แผนการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินผู้ป่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ และแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย โดยแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย เครี่องมือแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย เครี่องมือที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมดได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยง โดยแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.80 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับบริการพยาบาลโดยใช้การจัดการ ผู้ป่วยรายกรณี น้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการพยาบาลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ผู้ป่วยที่ได้รับบริการโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีมีความพึงพอใจสูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2159
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib142793.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons