กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2167
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting members' participation in group operation of organic substance utilization to reduce chemical substance utilization in agriculture in Chomthong Sub-District, Mueang District, Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาธิต กาละพวก, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรอินทรีย์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านอื่นๆ ของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร (2) ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดาเนินงานของกลุ่ม (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของกลุ่ม (4) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกกลุ่มกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง จบประถมศึกษาปีที่ 4 และมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน สมาชิกกลุ่มมากกว่าสามในสี่มีสถานภาพสมรส มีอายุเฉลี่ย 54.38 ปี ประสบการณ์ด้านการเกษตรเฉลี่ย 28.62 ปี เกือบสามในสี่มีภาระหนี้สินโดยกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. และกองทุนหมู่บ้าน มีรายได้เฉลี่ย 235,890 บาทต่อปี สมาชิกกลุ่มทุกรายได้รับผลตอบแทนจากการรวมกลุ่มที่ไม่เป็นตัวเงินและไม่มีการลงหุ้น เกือบหนึ่งในสามเป็นสมาชิกกลุ่มอื่นจานวน 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นสมาชิกที่ไม่มีตำแหน่งในกลุ่ม สมาชิกกลุ่มมากกว่าสามในสี่มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่ม 6 ปี เข้ารวมกลุ่มเพราะต้องการลดต้นทุนการผลิต ต้องการมีสุขภาพที่ดี ต้องการเพิ่มผลผลิต และต้องการความรู้ โดยการแนะนาของหมอดินอาสาและผู้นำหมู่บ้าน สมาชิกเกือบครึ่งผ่านการฝึกอบรม 1 ครั้ง (2) สมาชิกกลุ่มมีระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกลุ่มภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของกลุ่ม ได้แก่ ประสบการณ์ด้านการเกษตร และจำนวนกลุ่มที่เป็นสมาชิก ซึ่งมีผลในเชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของกลุ่มอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลาดับ (4) สมาชิกกลุ่มมีปัญหาในการดำเนินงานของกลุ่มภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรหาความรู้เพิ่มเติม เพิ่มกิจกรรมให้หลากหลาย จัดทำแปลงสาธิต และปรึกษาเจ้าหน้าที่หากพบปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2167
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135273.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons