กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/217
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสุขภาพ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The influence of the marketing strategy on the decision making of choosing health care services : a case study of fort Prachaksinlapakom Hospital, Udon thani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชาวน์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิสุทธิ์ ศรีจันทราพันธุ์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ -- วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม
บริการสุขภาพ--การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: พยาบาลวิชาชีพเป็นบุคลากรที่มีความสําคัญต่อความสําเร็จของการให้บริการปฐมภูมิ การขยายการ จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดลพบุรีนํามาซึ่่งปัญหาการบริหารจัดการบุคลากรและการปฏิบัติตามบทบาท หน้าที่ ของพยาบาลวิชาชีพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจําแนกความคิดเห็นต่อการให้บริการปฐมภูมิ ระดับ ความสามารถในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่่จากการประเมินตนเองของพยาบาลวิชาชีพ และบทบาทหน้าที่ด้าน ที่ต้องการการพัฒนา การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยแบบสํารวจเชิงพรรณนาดําเนินการเก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพทุกคน ในศูนย์สุขภาพชุมชน จํานวน 104 คน พยาบาลวิชาชีพให้คะแนนตามความคิดเห็นต่อการให้บริการและ ความสามารถในการปฏิบัติงานของตนตามบทบาทหน้าที่ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการทํางาน ร่วมกับผู้อื่น และด้านปฏิบัติการพยาบาลและวิชาการ ในแบบประเมินตนเองซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.95 ทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์ สหสมพันธ์เพียร์สัน และอีต้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะการให้บริการปฐมภูมิโดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) ความสามารถในการปฏิบัติตามบทบาทที่ประเมินตนเองว่าอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ บทบาทด้านการบริหาร จัดการเกี่ยวกับการประเมินแรงจูงใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการประเมินแหล่งประโยชน์และการกําหนดบทบาทในการช่วยเหลือบุคคลและครอบครัว บทบาทด้านปฏิบัติการพยาบาลและวิชาการเกี่ยวกับการ สร้างงานวิชาการและการนําผลงานวิชาการมาประยุกต์ใช้ และการใช้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกนั้นอยู่ในระดับสูง 3) ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะให้บริการปฐมภูมิมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญในระดับต่ำกับภาระเลี้ยงดูบุตร และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญในระดับปานกลาง กับ ความสามารถในการปฏิบัติตาม บทบาทหน้าที่ ข้อสรุปจากการวิจัยบ่งบอกถึงความจําเป็นในการเพิ่มพูนความสามารถด้านระเบียบวิธีการทางสุขศึกษาให้พยาบาลวิชาชีพ และการส่งเสริมศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ตื่นตัว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/217
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
88068.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons