Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/218
Title: ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติส่วนบุคคล
Other Titles: The liability for damage arising from a personal self-driving car
Authors: ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพดล ปุยเกิดทรัพย์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิต
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
ความรับผิดของผู้ผลิต -- ยานยนต์
ยานยนต์อัจฉริยะ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การขัดกันแห่งกฎหมาย -- การชดใช้ค่าเสียหาย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ แนวความคิดเกี่ยวกับการควบคุมกำกับธุรกิจซื้อขายรถยนต์ ความรับผิดทางแพ่งของผู้ผลิตผู้จำหน่าย รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและผู้ครอบครองรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศเพื่อควบคุมกำกับการประกอบธุรกิจรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการประกอบธุรกิจรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติส่วนบุคคลของไทย 4) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการตรากฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการประกอบธุรกิจรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติส่วนบุคคล วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาวิเคราะห์ตำรา บทความ งานวิจัย คำพิพากษาของศาลรวมทั้งตัวบทกฎหมายทั้งไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกำกับการประกอบธุรกิจรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติส่วนบุคคล ได้แก่ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2552 พระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เป็นต้น รวมทั้งมาตรการควบคุมกำกับการประกอบธุรกิจรถยนต์ขับเคลื่อน อัตโนมัติส่วนบุคคลของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน และสิงคโปร์ ผลจากการศึกษาพบว่า 1) พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ยังมิได้กำหนดมาตรฐานที่มีความเหมาะสมกับรถยนต์ขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติกล่าวคือ มิได้กำหนดส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์ ขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ ได้แก่ อุปกรณ์รับสัญญาณ GPS อุปกรณ์ไลดาร์เป็นต้นประการ 2) บทบัญญัติมาตรา 437 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ให้สิทธิไล่เบี้ย และไม่ปรากฏความเห็นทางกฎหมายที่เห็นว่าผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดมีสิทธิไล่เบี้ย ทำให้ผู้ต้องสันนิษฐานความรับผิดไม่อาจไล่เบี้ยเอาผิดกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไต้ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ 3) ความคลุมเครือในบทนิยามคำว่า “สินค้า”ในพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ทำให้ไม่สามารถคุ้มครองบุคคลภายนอกที่ไค้รับความเสียหายที่เกิดจากรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติ 4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 บทบัญญัติมาตรา 437 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/218
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib162009.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.