Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2181
Title: | พฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของผู้บริการพยาบาล ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง |
Other Titles: | Behaviors of nursing providers to protect patient rights at the out patient department in a University Hospital |
Authors: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา สิริรัตน์ วิภาสศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษา ชรัสนิกูล ยิ้มบุญณะ, อาจารย์ที่ปรึกษา วิรตี ชุนประเสริฐ, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ บริการการพยาบาล -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ สิทธิผู้ป่วย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านบุคคลของ ผู้บริการพยาบาล (2) ระดับพฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของผู้บริการพยาบาล (3) เปรียบเทียบ พฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของผู้บริการพยาบาลในบทบาทเป็นผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ และ (4) ปัจจัยทำนายที่มีผลต่อพฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของผู้บริการพยาบาล ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริการพยาบาล ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพระดับ ปฎิบัติการและผู้ช่วยพยาบาลที่ปฎิบัติงานดึกผู้ป่วยนอก ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน 1 ปี ขึ้นไป และเคยเป็นผู้ใช้บริการ ดึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 320 คน คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบสะดวก เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านบุคคล (2) พฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยในบทบาทเป็นผู้ให้บริการ และ (3) พฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิ ผู้ป่วยในบทบาทเป็นผู้ใช้บริการ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามผู้ให้บริการและ ผู้ใช้บริการมีค่า 0.81 และ 0.85 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟ่า ของแบบสอบถามผู้ ให้บริการและผู้ใช้บริการ มีค่า 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติกลุ่มเดียววัดซํ้าก่อนและหลัง และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้บริการพยาบาลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 98 ) มีอายุต่ำ กว่า 30 ปี จำนวนมากที่สุด (ร้อยละ 36) (2) พฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของผู้บริการพยาบาล ในบทบาทเป็นผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการพยาบาล อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.12 และ 3.85 ตามลำดับ (3) ค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยของผู้บริการพยาบาลในบทบาท เป็นผู้ให้บริการสูงกว่าในบทบาทเป็นผู้ใช้บริการพยาบาล อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) พฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยในบทบาทเป็นผู้ใช้บริการ และอายุของผู้บริการ พยาบาล สามารถทำนายพฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิผู้บริการพยาบาลได้รัอยละ49.3 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2181 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib144830.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License