กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2184
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างตลาด พฤติกรรมการแข่งขันและผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมกระดาษอนามัยในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Market structure conduct and performance of sanitary paper industry in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาสินี ตันติศรีสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอื้อมพร ใหม่ก๋งลาย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมกระดาษ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) โครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมกระดาษ อนามัยในประเทศไทย 2) พฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมกระดาษอนามัยในประเทศไทย 3) ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมกระดาษอนามัยในประเทศไทย 4) ปัญหาและอุปสรรคของ อุตสาหกรรมกระดาษอนามัยในประเทศไทย วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างตลาดใช้วิธีอัตราส่วนการกระจุกตัว ดัชนีเฮอร์ฟิน ดาล-เฮิร์ซแมน ดัชนีชีซีไอ และดัชนีแฮนนาและเคย์โดยรวบรวมข้อมูลงบการเงินในปี พ.ศ.2545- 2550 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ การวิเคราะห์พฤติกรรมการแข่งขันใช้วิธี วิเคราะห์เชิงพรรณนา ดัวยการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามของผู้ผลิตกระดาษอนามัยจำนวน 6 ราย ส่วนผลการดำเนินงานใช้อัตรากำไรสุทธิวัดผลการดำเนินงานและใช้อัตราผลตอนแทนต่อการ ลงทุนวัดประสิทธิภาพของการลงทุนโดยรวบรวมข้อมูลงบการเงินในปี พ.ศ.2545-2550 จากกรม พัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมกระดาษอนามัยในประเทศ ไทยเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายพบว่ามีค่าการกระจุกตัวสูงค่า CR2 ร้อยละ 81.66 และค่า CR4 ร้อยละ 97.53 ค่า HHI เท่ากับ 0.3687 ค่า CCI เท่ากับ 0.7026 พบว่าอำนาจการต่อรองค่อนข้างสูง มีการ แข่งขันระหว่างหน่วยธุรกิจค่อนข้างต่ำ ค่า HK เท่ากับ 3 พบว่าผู้ผลิตที่มีอิทธิพลในอุตสาหกรรมมี ประมาณ 3 ราย 2) พฤติกรรมการแข่งขันเน้นการแข่งขันด้านมิใช่ราคามากกว่าการแข่งขันด้านราคา โดยเน้นการโฆษณาทางโทรทัศน์ การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการ ปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ 3) ผลการดำเนินงานโดยพิจารณาจากอัตรากำไรสุทธิในปี พ.ศ.2545-2550 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 และอัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนในปี พ.ศ.2545-2550 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 ซึ่งผลการดำเนินงานมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ลดลง 4) ปัญหาที่พบ คือ การควบคุมต้นทุนทีทำ ได้ยากมักเกิดปัญหาในกระบวนการผลิต และอุปสรรค คือ เครื่องจักรและซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์นั้น มีราคาสูง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2184
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127593.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons