กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2186
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของบมจ. ธนาคารกรุงไทย สาขาวังเหนือ จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing customers' choice for housing loan : a case study of Krung Thai Bank Public Company Limited Wangnua Branch, Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ระจีวรรณ มาลัยวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไอลดา แสงสร้อย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารกรุงไทย--ไทย--ลำปาง
สินเชื่อที่อยู่อาศัย
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภารเลือกใช้บริการสินเชื่อ เพื่อทีอยู่อาศัยของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาวังเหนือ จังหวัดลำปาง 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการใช้บริการสินเชื่อเพื่อทีอยู่อาศัยของลูกค้าของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาวังเหนือ จังหวัด ลำปาง วิธีการศึกษาเป็นการเก็บข้อมูลตัวอย่างจากกลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอวังเหนือจำนวน 400 ราย ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและแบบจำลองโลจิทด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การ ประมาณค่าความน่าจะเป็นสูงสุด และเทคนิคการวิเคราะห์ Marginal Effects ผลการศึกษาจากแบบจำลองโลจิท พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อ เพือทีอยู่อาศัยของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาวังเหนือ จังหวัดลำปาง ทื่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 มีด้งนี้ คือ 1) การบริการของพนักงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ Marginal Effect 0.6364 2) ระยะเวลา การผ่อนชำระและขั้นตอนการอนุมัติ มีค่าสัมประสิทธิ์ Marginal Effect 0.5938 3) อัตราดอกเบี้ย/ ค่าธรรมเนียม มีค่าสัมประสิทธิ์ Marginal Effect 0.5510 4) ความสะดวก/ใกล้บ้าน มีค่าสัมประสิทธิ์ Marginal Effect 0.4902 5) ภาพลักษณ์/ความมั่นคงของธนาคาร มีค่าสัมประสิทธิ์ Marginal Effect 0.4628 6) วงเงินให้กู้ มีค่าสัมประสิทธิ์ Marginal Effect 0.4253 7) ปัจจัยด้านราคาในภาพรวมและ ด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียงของธนาคารกรุงไทยในภาพรวมมีค่าสัมประสิทธิ์ Marginal Effect 0.3769 ตามลำดับ สำหรับปัญหาและอุปสรรคของการใช้บริการ พบว่าการตรวจสอบประวัติทาง การเงินและประวัติการผิดนัดชำระหนี้ มีระดับความรุนแรงของปัญหามากที่สุด รองลงมาได้แก่ ระยะเวลาการรอคิวเพือยื่นขอสินเชือ ระยะเวลาการอนุมัติที่ไม่เป็นไปตามกำหนด และการเรียก เอกสารเพิ่มเติมประกอบแหล่งที่มาของรายได้ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามมีข้อเสนอแนะว่า ธนาคาร ควรมีการจัดอบรมบุคลากรในด้านการให้บริการลูกค้า ด้านขั้นตอนการปฏิบัติงานและความรู้ด้าน ผลิตภัณฑ์ของธนาคาร รองลงมาได้แก่ พนักงานธนาคารควรให้บริการลูกค้าอย่างโปร่งใส มีการ ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ ในช่องทางที่หลากหลาย ธนาคารต้องมี การรับประกันคุณภาพของการให้บริการ และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยตรงใจลูกค้า
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2186
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128471.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons