Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2187
Title: การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของข้าราชการในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: Credit card spending of civil servants in Muang Uttaradit District, Uttaradit Province
Authors: รัฐวิชญญ์ จิวสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรรณิการ์ จันต๊ะวงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บัตรเครดิต
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
การชำระเงิน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปรายได้ รายจ่าย หนี้สิน และ เงินออม 2) พฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดที่มี ต่อการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและ 4) ป้จจัยที่มีผลต่อการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของข้าราชการ ในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ใช้บัตรเครดิตโดย วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 330 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้าราชการส่วนใหญ่เป็นหญิง มีสถานภาพสมรส ระดับ การศึกษาปริญญาตรีอายุเฉลี่ย 41 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,008.73 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 17,049.19 บาท หนี้สินเฉลี่ย 557,878.38 บาท เงินออมเฉลี่ย 187,228.45 บาท 2) ข้าราชการ ส่วนใหญ่ใช้บัตรเครดิตของธนาคารกรุงไทยวงเงินที่ได้รับอนุมัติสูงสุด 200,000 บาท มูลค่า การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเฉลี่ย 6,383.58 บาทต่อเดือนใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวกในการใช้ แทนเงินสด สำหรับการซื้ออาหารเครื่องดื่มและชำระค่าบริการที่ห้างสรรพสินค้า แต่ละเดือนมี การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 1-2 ครั้ง และชำระค่าใช้บริการทั้งหมด สำหรับปัญหาการใช้บัตร เครดิต ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการคิดค่าธรรมเนียมในอัตราสูงเกี่ยวกับการกดเงินสดและการชำระ เงินเกินกำหนดเวลา 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการใช้จ่ายผ่านบัตร เครดิตในระดับมาก ได้แก่ ผ่อนชำระได้ เบิกเงินสดล่วงหน้า ไม่มีค่าบริการเมื่อชำระผ่านธนาคาร ค่าปรับการชำระเกินกำหนดเวลาอัตราสูง และซื้อสินค้าโดยการผ่อนชำระที่ไม่เสียดอกเบี้ย 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่รายได้ และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2187
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
149690.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons