กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2192
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ในเขตอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting demand for motorcycles in Amphoe Mueang Saraburi Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชฎาพร เลิศโภคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำลักษณ์ ส่งวัฒนา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
จักรยานยนต์--การจัดซื้อ
จักรยานยนต์--การตลาด
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของผู้บริโภครถจักรยานยนต์ ในเขตอำเภอเมืองสระบุรี และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์รถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองสระบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิรวมรวม จากประชาชนผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 3 ประเภท คือ แบบครอบครัว แบบสปอร์ตครอบครัว และแบบ สปอร์ตขนาด 100 -125 ซีซี ในเขตอำเภอเมืองสระบุรี ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ อย่างง่าย ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ และใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วยราคา รถจักรยานยนต์ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อยชั้นดีของธนาคารพาณิชย์ ราคาน้ำมันเบนซินโดยเฉลี่ย และราคารถยนต์ ซึ่งรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณเชิงซ้อน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท สถานภาพสมรส และมีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว ราคารถจักรยานยนต์ที่ซื้อ 50,001 – 60,000 บาท เป็นรถประเภทรถสปอร์ต มีขนาดเครื่องยนต์ 100-125 ซีซี ซื้อรถด้วยเงินผ่อน ตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง โดยการไปดูรถที่โชว์รูม วัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ไปซื้อของหรือเดินทางในหมู่บ้านหรือตลาด 2) ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์รถจักรยานยนต์ในทิศทางตรงกันข้าม ได้แก่ ราคา รถจักรยานยนต์ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี และราคาน้ำมันเบนซินโดยเฉลี่ย ในขณะที่ราคา รถยนต์มีผลต่ออุปสงค์การใช้รถจักรยานยนต์ในทิศทางเดียวกัน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยตัวแปรอิสระสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์รถจักรยานยนต์ได้ร้อยละ 81.70
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2192
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140978.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons