กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2197
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of the market structure and competition behavior of Harddisk Drive Industry in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชฎา ทองแท้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์--การตลาด
อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์--การตลาด
การแข่งขันทางการค้า
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป 2) โครงสร้างตลาด 3) พฤติกรรมการแข่งขัน และ 4) ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทย การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทยจำนวน 4 ราย จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้องในช่วงปี พ.ศ. 2553 – พ.ศ.2557 จากภาครัฐและเอกชน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา และเชิงปริมาณ โดยการหาค่าการกระจุกตัว ดัชนีเฮอร์ฟินดาห์ล – เฮิส์ชแมน และดัชนีฮอร์วัธ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แบบพกพาในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 – พ.ศ.2555 มีจำนวนผู้ประกอบการทั้งสิ้น 5 ราย แต่หลังจากปี พ.ศ. 2555 จนถึงปี พ.ศ. 2557 ลดลงเหลือ 4 ราย เพราะหนึ่งในบริษัทได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทอื่นหนึ่งบริษัทอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้สินค้าที่ออกจำหน่ายสู่ตลาดภายใต้ชื่อของบริษัทที่ถูกซื้อหมดไปจากตลาดขายปลีกในประเทศไทย 2) โครงสร้างตลาดของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แบบพกพาในประเทศไทยมีลักษณะแบบตลาดผู้ขาย น้อยราย โดยมีค่าการกระจุกตัวเท่ากับร้อยละ 67 ดัชนีเฮอร์ฟินดาห์ล – เฮิส์ชแมนเฉลี่ยเท่ากับ 0.36 และดัชนีฮอร์วัธเฉลี่ยเท่ากับ 0.73 3) พฤติกรรมการแข่งขันของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แบบพกพาในประเทศไทยด้านราคามีบทบาทในปี พ.ศ. 2554 โดยบริษัทที่เป็นผู้จำหน่ายฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์แบบพกพาราคาสูงที่สุด ในตลาดได้ปรับลดราคาสินค้าของตนลงมาจนมีราคาใกล้เคียงกับคู่แข่งหลักเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด แต่หลังจากปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา ไม่พบว่ามีพฤติกรรมการแข่งขันด้านราคา ส่วนพฤติกรรมการแข่งขันที่ไม่ใช่ด้านราคาที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมนี้ที่สำคัญ ได้แก่ การแข่งขันด้านลักษณะของผลิตภัณฑ์ ระบบ การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณา และการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 4) ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมฮาร์ดที่สำคัญ ได้แก่ เงินลงทุนที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ผู้บริโภคที่จงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้า และการจำหน่ายฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นสินค้าพ่วงกับคอมพิวเตอร์ของตนเอง
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2197
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151355.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons