กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2200
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between exchange rate and inflation in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐานิสสรา ทองสมจิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินเฟ้อ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อของประเทศไทยภายใต้กรอบทฤษฎีความเท่าเทียมกัน 2) ทดสอบความสัมพันธ์ดุลยภาพในระยะยาวของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อของประเทศไทย 3) ศึกษาความเป็นเหตุเป็นผลของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อของประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปรคือ เงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไทยเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาสตั้งแต่ พ.ศ. 2545-2555 โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติด้วยวิธีโคอินทิเกรชัน เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อโดยวิธี Granger Causality เพื่อหาความสัมพันธ์ในลักษณะเชิงเป็นเหตุเป็นผล ผลการศึกษาพบว่า 1) ภายใต้กรอบทฤษฎีความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อนี้ พบว่าไม่มีความสอดคล้องกัน ตามทฤษฎีที่ได้กล่าวไว้ว่า ราคาสินค้าเปรียบเทียบของ 2 ประเทศเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 2) การทดสอบความนิ่งของข้อมูลโดยวิธี Unit Root ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและเงินเฟ้อ พบว่าข้อมูลทั้งสองชุดมีความนิ่งที่ผลต่างลำดับที่ I หรือ I (1) จากนั้นนำมาทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อมีความสัมพันธ์กันในเชิงดุลยภาพระยะยาว 3) การศึกษาความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปรพบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยและดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา มีผลต่อกันและกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยกับอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ไม่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งไม่สนับสนุนตามที่ทฤษฎีความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2200
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
145817.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons