กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2202
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคพลังงานรายสาขาเศรษฐกิจกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Analysis of relationship between the energy consumption by economic sectors and economic growth of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พัชรี ผาสุข ณรงพิสิษฐ์ วรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การใช้พลังงาน --พยากรณ์ เศรษฐศาสตร์--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการบริโภคพลังงานรายสาขาเศรษฐกิจของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคพลังงานรายสาขาเศรษฐกิจกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย การศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายปี พ.ศ. 2536-2560 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเป็นการอธิบายสภาพทั่วไปของการบริโภคพลังงานรายสาขาเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคพลังงานรายสาขาเศรษฐกิจกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยสมการถดถอยพหุคูณ ตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวและการปรับตัวระยะสั้น ผลการศึกษาพบว่า (1) สาขาเศรษฐกิจที่มีปริมาณการบริโภคพลังงานรวมเฉลี่ยย้อนหลัง 25 ปีสูงที่สุด คือ สาขาขนส่ง และน้ามันสาเร็จรูปเป็นประเภทพลังงานที่มีการบริโภคมากที่สุด การบริโภคพลังงานในสาขาธุรกิจการค้ามีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุด เนื่องมาจากการเติบโตของภาคการส่งออกและภาคบริการการท่องเที่ยว การบริโภคพลังงานสาขาเกษตรกรรมมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุด ส่วนสาขาอุตสาหกรรมการผลิตและสาขาธุรกิจการค้าไม่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การบริโภคพลังงานเกือบทุกสาขามีทิศทางแนวโน้มสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเศรษฐกิจยกเว้นสาขาก่อสร้าง (2) การบริโภคพลังงานรายสาขาเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาธุรกิจการค้า และสาขาขนส่ง และเมื่อเกิดภาวะใด ๆ ในระยะสั้นที่ทาให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเบี่ยงเบนออกจากดุลยภาพจะสามารถปรับตัวกลับเข้าสู่ดุลยภาพในระยะเวลา 4 เดือน 25 วัน หรือร้อยละ 39.97 ของระยะเวลาที่เบี่ยงออกจากดุลยภาพ |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2202 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161992.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.93 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License