กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2203
ชื่อเรื่อง: ความเชื่อมโยงของความขยายตัวทางเศรษฐกิจกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533-2553
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The link between economic growth and environmental factors in Thailand from 1990 to 2010
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐวุฒิ โพธิ์ทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สิ่งแวดล้อม--แง่เศรษฐกิจ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อมโยงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อมจำนวน 5 ตัวอย่างได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซโอโซน (O3) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10ไมครอน (PM10) ในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539-2555 และความสอดคล้องกับทฤษฎีเส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของ Kuznets 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษในอากาศกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแต่ละตัวแปรที่ได้กำหนดในแบบจำลอง 3) นำข้อมูลแบบจำลองที่ได้มาวิเคราะห์และเปรียบเทียบระหว่างตัวแปรอิสระได้แก่ SO2 , NO2 , CO , O3 และ PM10 การศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ได้จากเก็บจากแหล่งข้อมูลโดยตรง จากข้อมูลมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร เป็นรายเดือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2555 ของสถานที่ทั้งหมดจำนวน 17 จุด และข้อมูลรายได้ประชาชาติ รายไตรมาสจากธนาคารแห่งประเทศไทย สถิติในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์การถดถอยพหุคูณ เพื่อหาความสมพันธ์ระหว่างค่ามลพิษทั้ง 5 ชนิดกับค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ผลการวิจัย พบว่า 1) NO2 O3 แปรผันกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเช่นเดียวกับช่วงแรกของทฤษฎีเส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของคุซเน็ตส์ ส่วน SO2 CO, PM10 แปรผกผันกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศช่นเดียวกับช่วงหลังของทฤษฎีเส้นโค้งสิ่งแวดล้อมของคุซเน็ตส์ 2) เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศกับค่าเฉลี่ยข้อมูลมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครประเภทต่างๆ เปรียบเทียบเป็นรายคู่พบว่า NO2 O3 แปรผันตรงกับกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ส่วน SO2 CO PM10 แปรผกผันกับ GDP 3) SO2 NO2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและลดลงไปในทางเดียวกัน มีค่าสูงในช่วงฤดูหนาวและ มีค่าตํ่าสุดในช่วงฤดูฝน CO, O3, PM10 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและลดลงในแต่ละช่วงไตรมาสไปในทางต่างกัน ดังนั้น CO, O3 มีค่าสูงในช่วงฤดูหนาว แต่ CO มีค่าตํ่าสุดในช่วงฤดูร้อน ในขณะที่ O3 มีค่าตํ่าสุดในช่วงฤดูฝนซึ่ง O3 มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางการเปลี่ยนแปลงเดียวกับปริมาณ NO2 ถ้า NO2 เพิ่ม O3 ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วน PM10 มีค่าสูงในช่วงฤดูร้อนและมีค่าตํ่าสุดในช่วงฤดูฝน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2203
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153574.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons