กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2212
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer behavior on fresh coffee consumption in Nakhon Si Thammarat Municipality, Muang District, Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพวรรณ์ ไพรัตนากร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กาแฟ--ไทย--นครศรีธรรมราช
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--นครศรีธรรมราช
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการดื่มกาแฟสด ของผู้บริโภค 2) พฤติกรรมการดื่มกาแฟสดของผู้บริโภค 3) ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ในการดื่มกาแฟสดของผู้บริโภค และความยืดหยุนของอุปสงค์ และ 4) ปัจจัยประกอบการตัดสินใจในการดื่มกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตเทศบาล นครนครศรีธรรมราช การศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่อง มือวิจัยรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคจำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช ในช่วงเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม 2557 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ของผู้บริโภคใช้สมการถดถอยโลจิสติก พฤติกรรมการดื่มกาแฟสดของผู้บริโภคใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และไคส แควร์ ปัจจัยกำหนดอุปสงค์และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ใช้สมการถดถอยพหุคูณ และปัจจัยประกอบการ ตัดสินใจของผู้บริโภคใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบทีและการทดสอบแบบเอฟ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการดื่มกาแฟสดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ได้แก่ อายุและระดับการศึกษาของผู้บริโภค โดยมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจดื่มในทิศทางเดียวกัน โดย สัมประสิทธิ์แห่งการกำหนดเท่ากับ 0.40 2) ผู้ดื่มกาแฟสดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุโดยเฉลี่ย 39 ปี สถานภาพ โสด จบปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ พนักงานเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 บาท เลือก ดื่มที่ร้านกาแฟสด ค่าใช้จ่ายในการดื่มสัปดาห์ละ 100 บาท สัปดาห์ละ 2 แก้ว ราคาเฉลี่ยต่อแก้ว 50 บาท การดื่ม เพื่อโอกาสใช้เป็นสถานที่นัดพบ และช่วงเวลาที่นิยมดื่มเวลา 13.00 น. 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอุปสงค์ในรูป ของค่าใช้จ่ายในการดื่มและในรูปของจำนวนแก้วในการดื่มกาแฟสดต่อสัปดาห์ซึ่งในทิศทางเดียวกัน ที่ระดับ นัยสำคัญ .05 ได้แก่ ปัจจัยเพศ ปัจจัยรายได้ และผู้มีอาชีพพนักงานเอกชน/ธุรกิจส่วนตัว โดยค่าสัมประสิทธิ์แห่ง การกำหนดเท่ากับ 0.08 และ 0.12 ตามลำดับ และความยืดหยุนของอุปสงค์ต่อรายได้เท่ากับ 0.19 และ 0.16 4 ตามลำดับ 4) ปัจจัยประกอบการตัดสินใจในการดื่มกาแฟสดอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รสชาติ ของกาแฟ/ความหอมของกาแฟ ด้านราคาได้แก่ ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของกาแฟและกับบริการที่ได้รับ ด้านสถานที่ ได้แก่ ความสะอาดของร้าน ด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การจัดโปรโมชั่นเป็นชุดในราคาพิเศษ ด้านบุคคลากรได้แก่ ความพร้อมตลอดในการให้บริการ ด้านการให้บริการได้แก่ ความซื่อสัตย์และยุติธรรมใน การให้บริการ และพบว่าปัจจัยส่วนตัวของผู้บริโภคด้านเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ที่ ต่างกันมีระดับของปัจจัยประกอบการตัดสินใจที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2212
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144700.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons