กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2221
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer behavior of fresh coffee: a case study of Taling Chan Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชราภรณ์ เทียนธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กาแฟ.--พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของผู้บริโภค 2) พฤติกรรมการใช้ บริการในร้านกาแฟสดและพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสด 3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจเลือกดื่มกาแฟสด และ 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ บริการในร้านกาแฟสดของผู้บริโภคในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างจํานวน 400 ราย ประกอบด้วยผู้บริโภคที่ใช้บริการในร้านกาแฟสดขนาดกลางและร้าน กาแฟสดขนาดเล็กกลุ่มละ 200 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวย่างแบบชั้นภูมิ และการสุ่มตัวอย่างแบบ บังเอิญ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้ไคสแควร์ และสมการการถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทั่วไปของผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 33.15 ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทํางานในบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ย 25,856.13 บาทต่อเดือน และผู้บริโภคร้อยละ 60.7 ดื่มกาแฟสด ร้อยละ 39.3 ไม่ดื่มกาแฟสด 2) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ดื่มกาแฟสัปดาห์ละ 4.36 แก้ว โดยนิยมดื่มกาแฟสดเวลา 06.00 – 09.00 น. ในราคาแก้วละ 73.55 บาท โดยซื้อจากร้านที่อยู่ใกล้ที่ทํางาน แต่ไม่ซื้อสินค้าประเภทอื่นควบคู่กับ กาแฟสด และสินค้าทดแทนกาแฟสดที่นิยมคือ ชา ในราคาแก้วละ 54.70 บาท 3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกดื่มกาแฟสดของผู้บริโภคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา และอาชีพ 4) ผู้บริโภคให้ความสําคัญกับปัจจัยด้านบุคลากรในระดับมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านราคา ลักษณะของสถานที่ ผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ผู้บริโภคให้ ความสําคัญในระดับมาก
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2221
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156357.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons