กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2228
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัด กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting members' decision making on the director board election of Cooperatives Government Officer Cooperatives Ltd., Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภธีร์ อยู่วัฒนา, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การตัดสินใจ
สหกรณ์--แง่การเมือง
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
สหกรณ์การเกษตร--ไทย--กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ ที่มีผลต่อการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 2) ศึกษาระดับปัจจัยด้านผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจของสมาชิกสหกรณ์ในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านผู้สมัครในการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัด ทั้งหมดทั่วประเทศ จํานวน 6,453 คน กลุ่มตัวอย่างจํานวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-45 ปี สถานภาพหม้าย วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า สถานะเป็นข้าราชการสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ทั้งหมดสมาชิกมีรายได้ระหว่าง 30,001-35,000 บาท ระยะเวลาการเป็นสมาชิกอยู่ระหว่าง 11-20 ปี 2) ปัจจัยด้านผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจของสมาชิกสหกรณ์ในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสูงที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายผู้สมัคร (ค่าเฉลี่ย 3.89) ปัจจัยย่อยที่มีผลสูงที่สุด คือ นโยบายพัฒนาระบบการให้บริการของสหกรณ์ (ค่าเฉลี่ย 4.99) ปัจจัยด้านรูปแบบการหาเสียง (ค่าเฉลี่ย 3.73) ปัจจัยย่อยที่มีผลสูงที่สุด คือ การนำเสนอนโยบาย (ค่าเฉลี่ย 5.00) และปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร (ค่าเฉลี่ย 3.30) ปัจจัยย่อยที่มีผลสูงที่สุด คือ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ (ค่าเฉลี่ย 4.31) 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านผู้สมัครในการตัดสินใจของสมาชิกในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ด้านสถานะไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้ คณะกรรมการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ ทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้งคณะกรรมการดำาเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านคุณสมบัติ นโยบายและรูปแบบการหาเสียงของผู้สมัครมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของสมาชิกในเลือกตั้คณะกรรมการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2228
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext-128857.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons