Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2230
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้ของลูกหนี้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ บริษัท ตั้งใจพัฒนา (2547) จำกัด
Other Titles: Factors affecting the repayment of motorcycle leasing for Tangjaipattana (2547) Company Limited
Authors: พิทักษ์ ศรีสุขใส, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ้งการณ์ ภิญโญภาพ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การชำระหนี้
ลูกหนี้
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานะสัญญากับปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้ ของลูกหนี้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของบริษัท ตั้งใจพัฒนา (2547) จำกัด 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้ ของลูกหนี้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของบริษัท ตั้งใจพัฒนา (2547) จำกัด วิธีการศึกษานั้น จะเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม จำนวน 3 ประเภท โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พนักงานขาย 26 คน พนักงานติดตามหนี้สิน 16 คน และลูกหนี้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ 400 คน ซึ่งประกอบด้วยลูกหนี้ปกติ ถึง ค้างชำระ 150 วัน จำนวน 200 คน และลูกหนี้ค้างชำระมากกว่า 150 วัน ขึ้นไปจำนวน 200 คน การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบไคว์สแควร์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับสถานะลูกหนี้ปกติ และลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และวิเคราะห์โอกาสในการเกิดลูกหนี้ปกติและลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยใช้แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆกับสถานะสัญญาลูกหนี้ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับลูกหนี้ปกติ ได้แก่ หนี้สิน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ เพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ประวัติการทำสัญญา การใช้รถตามวัตถุประสงค์ จำนวนหนี้คงเหลือ ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนหนี้คงเหลือ ส่งผลให้ลูกหนี้สถานะสัญญาปกติเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกันเมื่อเทียบกับสถานะสัญญาค้างชำระมากกว่า 5 เดือนขึ้นไป แต่จำนวนหนี้สิน ส่งผลให้ลูกหนี้สถานะสัญญาปกติเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อเทียบกับสถานะสัญญาค้างชำระมากกว่า 5 เดือนขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2230
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
163290.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons