กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2249
ชื่อเรื่อง: การผลิตลำไยของเกษตรกรอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Longan production by famers in Pong Nam Ron District of Chanthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิริณี แก้วใส, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ลำไย--การปลูก
ลำไย--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรอำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี (2) การผลิตลำไยของเกษตรกร (3) ความต้องการการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ผลิตลำไย ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 77.9 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 36.2 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.62 คน มีประสบการณ์ในการผลิตลาไย เฉลี่ย 10.59 ปี เกษตรกรทั้งหมดสมาชิกสถาบันเกษตรกร เป็นกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แรงงานในครัวเรือนส่วนใหญ่ มีจานวน 2 คน แรงงานที่จ้าง จำนวน 5 คน พื้นที่ผลิตลำไยเฉลี่ย 24.32 ไร่ และเป็นพื้นของตนเองทั้งหมด แหล่งเงินทุนของเกษตรกรทั้งหมดมาจากเงินทุนของตนเอง (2) ส่วนใหญ่ลักษณะสภาพพื้นที่ปลูกลำไยเป็นพื้นราบ เป็นดินร่วน ปลูกพันธ์อีดอ อายุลำไยเฉลี่ย 13.18 ปีให้ผลผลิตแล้วเฉลี่ย 9.82 ปี แหล่งน้าที่ใช้ เป็นคลองส่งน้ำ/แหล่งน้ำธรรมชาติ วิธีการให้น้ำใช้ระบบสปริงเกอร์ฝอยเหนือดิน มีการตัดแต่งกิ่งปีละ 1 ครั้ง มีการใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0,8-24-24,16-16-16,15-15-15,27-6-6,15-0-0และ13-13-21 สารเคมีที่ใช้ เมโทมิล,ไซเพอร์เมทริน,อะบาเม็กตินและไวออยด์ ศัตรูลำไยที่ระบาดคือหนอนคืบกินใบ,แมลงค่อมทอง,ไรลำไย,เพลี้ยแป้ง,เหลี้ยหอยและค้างคาว ลักษณะการผลิตลำไยนอกฤดู สารที่ใช้คือสารโพรแทสเซียมคลอเรต การลงทุนผลิตลำไยของเกษตรกรเฉลี่ยต่อ 1 ไร่ พบว่าลงทุนการผลิตเฉลี่ย 15,447.86 บาท ขายลำไยได้เฉลี่ย 68,510.87 บาทและมีกำไรสุทธิเฉลี่ย 53,063.01 บาท (3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการผลิตลำไยคะแนนเฉลี่ย 3.02 อยู่ในระดับปานกลาง ช่องทางและวิธีการในการส่งเสริม โดยเจ้าหน้าที่จากทางราชการ ผ่านสื่อโทรทัศน์ คู่มือ ซีดี/วีดีโอ และการบรรยาย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2249
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137378.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons