Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2253
Title: | การดำเนินการผลิตและแปรรูปข้าวกล้องงอกหอมมะลิให้ได้มาตรฐานของเกษตรกรในอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร |
Other Titles: | The Operations of standardized Hom Maili Rice production and germinated rice processing by farmers in Sai Mun District of Yasothon Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา วศินา จันทรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา จุฑารัตน์ บัวขาว, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ข้าวกล้องงอก--การผลิต ข้าวกล้องงอก--การแปรรูป |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลสภาพทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การดำเนินการผลิตและแปรรูปข้าวกล้องงอกหอมมะลิของเกษตรกรให้ได้มาตรฐาน (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการผลิตและแปรรูปข้าวกล้องงอกหอมมะลิให้ได้มาตรฐาน (4) ปัญหาในการดำเนินการผลิตและแปรรูปข้าวกล้องงอกหอมมะลิให้ได้มาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 44.17 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.67 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.98 คน มีประสบการณ์ในการผลิตและแปรรูปข้าวกล้องงอกหอมมะลิ เฉลี่ย 19.8 ปี และ 2.11 ปี ตามลาดับ ส่วนใหญ่ได้รับมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิและผ่านการรับรองคุณภาพข้าวกล้องงอกหอมมะลิ ระยะการเป็นสมาชิกกลุ่มผลิตและแปรรูปข้าวกล้องงอกหอมมะลิเฉลี่ย 3.0 ปี และ 2.26 ปี ตามลาดับ รายได้ครัวเรือนในภาคการเกษตร เฉลี่ย 120,355.56 บาท รายได้ครัวเรือนนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 40,358.11 บาท รายจ่ายครัวเรือนในภาคการเกษตร เฉลี่ย 51,417.90 บาท หนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 114,626.67 บาท และมีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 25.76 ไร่ (2) เกษตรส่วนใหญ่ปฏิบัติตามเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิไทยได้ในระดับมากที่สุด และส่วนน้อยที่ปฏิบัติได้ในระดับปานกลาง สำหรับการปฏิบัติตามเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวกล้องงอกหอมมะลิส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ระดับมากที่สุด และส่วนน้อยไม่สามารถปฏิบัติได้ในบางข้อกำหนด (3) ไม่พบปัจจัยที่มีผลต่อการผลิต ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการแปรรูป คือ ประสบการณ์ในการแปรรูปข้าวกล้องงอกหอมมะลิและระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มแปรรูป (4) ปัญหาการผลิตมากที่สุดคือ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การใช้เมล็ดพันธุ์ และการจัดการการปลูก มีข้อเสนอแนะเรื่องแหล่งน้า การผลิตรูปแบบกลุ่ม การปรับปรุงดิน ลดใช้สารเคมี สร้างจิตสานึก จัดทำแปลงสาธิต จัดทำบันทึก และการให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหาการแปรรูปมากที่สุดคือ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล การป้องกันกำจัดฝุ่น การเข้าบริเวณผลิต บริเวณผลิตเกิดการปนเปื้อน น้ำมีคุณภาพต่ำ การทวนสอบ และการใช้เครื่องสีข้าว มีข้อเสนอแนะเรื่องการปรับปรุงอาคารสถานที่ผลิต การปรับปรุงน้ำใช้ การจัดทำเอกสารควบคุมการปฏิบัติงาน การจัดทำบัญชี การต่อยอดผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง และดูแลเครือข่าย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2253 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
137383.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License