Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2277
Title: ความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฟักข้าวเพื่อการค้าของกลุ่มเกษตรกร บ้านตาเดาะ ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
Other Titles: A feasibility study of commercial spring bitter cucumber production of agricultural group of Ban Ta Do, Snok Na Sam Sub-District, Prasat District, Surin Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรียุพา สุขจิต, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ฟักข้าว--การผลิต
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปกลุ่มเกษตรกรบ้านตาเดาะ 2) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฟักข้าวเพื่อการค้า ของกลุ่มเกษตรกรบ้านตาเดาะ และ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตผลิตภัณฑ์ฟักขา้วเพื่อการค้า ของกลุ่มเกษตรกรบา้นตาเดาะ ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มเกษตรกรบ้านตาเดาะ ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยศึกษาจากสมาชิกทั้งหมด 84 คน และประธานกรรมการ และกรรมการกลุ่มเกษตรกรจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน โดยวิธีมูลค่า ปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) ดัชนีกำไร (PI) ระยะเวลาคืนทุน (PB) และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพทั่วไปกลุ่มเกษตรกรบ้านตาเดาะ สมาชิก จำนวน 84 ราย ส่วนใหญ่เพศหญิง อายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรส จำนวนเกษตรกรในครัวเรือน 3-4 คน จำนวนฟักข้าวที่ปลูก 10-50 ต้น ปี 2556 กลุ่มเกษตรกรมีสินทรัพย์ รวม 1,440,828.49 บาท กำไรสุทธิ 444,328.49 บาท ประมาณการเงินลงทุนในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ฟักข้าวเพื่อการค้า จำนวน 1,500,000 บาท ระยะเวลาโครงการ 5 ปี 2) ความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฟักข้าวเพื่อการค้าของกลุ่มเกษตรกรบ้านตาเดาะ โดยสมมติอัตราคิดลดของโครงการร้อยละ 5 ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ดังนี้ NPV เท่ากับ 6,580,934.27 บาท IRR ร้อยละ 105.42 PI เท่ากับ 4.99 เท่า และ PB 1 ปี ความอ่อนไหวของโครงการโดยสมมติในกรณีมีการเปลี่ยนแปลง ต้นทุนเพื่มขึ้น ร้อยละ 5 และ 10 และยอดขายลดลง ร้อยละ 5 และ 10 พบว่าความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการยังมีความไปได้ทางการเงินทั้งวิธี NPV IRR และ PI 3) ปัญหาและอุปสรรคคือ กลุ่มเกษตรกรยังมีระบบการจัดการการตลาด การผลิต การเงินและการบัญชี และการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2277
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext- 140946.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons