กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2291
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between inflation rate and unemployment rate of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษฎา สัตยวินิจ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การว่างงาน -- ไทย
การจ้างงาน (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์)
การจ้างงาน -- ผลกระทบจากเงินเฟ้อ -- ไทย
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพรวมของการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานของประเทศไทย 2) วิเคราะห์ดุลยภาพในระยะยาวและการปรับตัวในระยะสั้นของอัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานของประเทศไทย 3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปรคือ ดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตรา การว่างงานของประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิเป็นแบบรายไตรมาศ ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2544 - ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยใช้เทคนิคทางเศรษฐมิติด้วยวิธี โคอินทิเกรชันและเออร์เรอรคอเรคชั่น เพื่อให้ ทราบถึงความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวและการปรับตัวในระยะสั้น และทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่างการว่างงานกับอัตราเงินเฟ้อโดยวิธี Granger Causality เพื่อหาความสัมพันธ์ในลักษณะเชิงเป็นเหตุ เป็นผลระหว่างอัตราเงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) ดัชนีราคาผู้บริโภคมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการว่างงานมีแนวโน้มลดลง 2) การทดสอบความนิ่งของข้อมูลโดยวิธี Augmented Dickey- Fuller ของอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงาน พบว่าข้อมูลทั้งสองชุดมีความนิ่งที่ผลต่างลำดับที่ 1 หรือ I (1) จากนั้นนำมาทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวพบว่า อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อมี ความสัมพันธ์กันในเชิงดุลยภาพระยะยาว ส่วนการทดสอบการปรับตัวในระยะสั้น โดยกรณีที่อัตราการ ว่างงานเป็นตัวแปรอิสระและอัตราเงินเฟ้อเป็นตัวแปรตามนั้น จะมีการปรับตัวในระยะสั้นโดยใช้เวลาใน การปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพ 2.4 วัน สำหรับกรณีอัตราเงินเฟ้อเป็นตัวแปรอิสระและอัตราการว่างงานเป็นตัว แปรตาม จะมีการปรับตัวในระยะสั้นโดยใช้ระยะเวลา 66 วัน 3) การทดสอบความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็น ผลพบว่า มีความสัมพันธ์แบบทิศทางเดียวคือ อัตราเงินเฟ้อเป็นสาเหตุของอัตราการว่างงาน ณ ระดับ นัยสำคัญทางสถิติที่ร้อยละ 0.05 ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีเส้นโค้งฟิลลิปส์บางส่วนเท่านั้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2291
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130942.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons