กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2292
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการจัดการของเสียอันตรายขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cost-effectiveness analysis of hazardous waste management in Kaibangrachan Sub-district Administrative Organization, Singburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรวดี จรุงรัตนาพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรธนาวีร์ อ่อนสำอางค์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการของเสีย -- ต้นทุน
การจัดการของเสีย -- ไทย -- สิงห์บุรี
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันของการจัดการของ เสียอันตรายขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบางระจัน 2) วิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลในการจัดการ ของเสียอันตรายขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ข้อมูลจากการศึกษานี้ รวบรวมจากข้อมูลทุติยภูมิ และการสำรวจครัวเรือนแบบเจาะจง จำนวน 100 ครัวเรือน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของโครงการที่ เป็นไปได้ในการจัดการของเสียอันตราย 3 โครงการภายใต้อายุโครงการ 10 ปี ได้แก่ 1) การตั้งจุดรับทิ้ง ของเสียอันตรายแบบครบวงจร 2) โครงการออกรับของเสียอันตรายถึงหน้าบ้าน และ 3) โครงการ ธนาคารของเสียอันตรายซึ่งโครงการที่เหมาะสมตามเงื่อนไขการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลคือโครงการที่ มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด โดยการทดสอบความอ่อนไหวด้วยอัตราคิดลดที่แตกต่างกันได้แก่ ร้อยละ 3 ร้อย ละ 5 และร้อยละ 8 และการเพิ่มปริมาณของเสียอันตรายจากครัวเรือนจากค่าอัตราการเติบโตของขยะ ในปัจจุบันจาก 1.654 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อเดือนเป็น 2 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อเดือนและ 3 กิโลกรัม ต่อครัวเรือนต่อเดือน ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบางระจัน สามารถจัดเก็บของเสีย อันตรายของครัวเรือนได้เพียง 30 กิโลกรัมต่อเดือน โดยของเสียอันตรายที่ไม่ได้รับการจัดการย่อมส่งผล ก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกทางลบต่อสังคม และ 2) โครงการที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุดคือ โครงการที่ 1 โครงการที่ตั้งจุดรับของเสียอันตรายแบบครบวงจร มีต้นทุนอยู่ในช่วง 14,231 - 18,654 บาทต่อตัน ณ ราคาคงที่ พ.ศ.2561 และเมื่อทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวด้วยอัตราคิดลดและปริมาณของเสียอันตราย ต่อครัวเรือน พบว่าลำดับของโครงการที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุดไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามแม่โครงการ ที่ 1 จะมีต้นทุนต่อหน่วยตํ่าสุด แต่จากข้อมูลการสำรวจครัวเรือนพบว่า มีครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วม โครงการที่ 1 เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ชี่งหมายถึงว่าถ้าดำเนินการตามโครงการที่ 1 จะต้องมีการจัดการ กับปริมาณของเสียอันตรายที่ไม่ได้รับการคัดแยกเพื่อมาเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก อันนำมาซึ่ง ผลกระทบภายนอกของของเสียอันตรายที่จะเกิดขึ้น ทางเสีอกที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติน่าจะเป็นโครงการ ที่ 2 คือโครงการออกรับของเสียถึงหน้าบ้านที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุดเป็นอันดับ 2 เนี่องจากมีคนสนใจ เข้าร่วมโครงการ ถึงร้อยละ 68 ของผู้ตอบแบบสอบถาม
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2292
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
162000.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons