Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2299
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาลำไยที่เกษตรกรขายได้ |
Other Titles: | Factors affecting sale price of longan's farm |
Authors: | สมบัติ พันธวิศิษฎ์ กิ่งกานต์ ดวงเนตร, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ลำไย--ราคา การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การผลิตลำใยในประเทศไทย 2) วิถีตลาดลำไยในประเทศไทย 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาลำไย และ 4) เพื่อคาดคะเนแนวโน้มราคาลำไยการศึกษาใช้ทั้งวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ เชิงปริมาณ ใช้วิธีสมการถดถอยเชิงซ้อนเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาลำไย ที่เกษตรกรขายได้ ซึ่งเป็นข้อมูลอนุกรมเวลาในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2555 ประกอบด้วย ปริมาณผลผลิตลำไยสด ในปีปัจจุบันปริมาณผลผลิตลำไยสดที่ส่งออกในปีที่ผ่านมา และราคาลำไยอบแห้งในปีปัจจุบันผลการศึกษาพบว่า 1) แนวโน้มผลตอบแทนของการปลูกลำไยที่มีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นแรงจูงใจ ให้เกษตรกรทำการผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลำไยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2) ลำไยถูกกระจายไปสู่ตลาดต่างประเทศมากกว่าตลาดภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลำไยเป็น ไม้ผลที่เน่าเสียง่ายส่งผลให้การจัดการทางด้านการขนส่งทำได้ยากลำบาก ช่องทางการจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลาง จึงเป็นช่องทางที่เกษตรกรนิยมมากที่สุดถึงร้อยละ 61 ด้านแนวโน้มราคาลำไยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีลักษณะความเคลื่อนไหวของราคาสลับสูงต่ำไปมาในแต่ละปื ดังนั้น เกษตรกรควรให้ความสำคัญการวางแผนการผลิตและการปรับกลยุทธ์การตลาด ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีเพึ่อนำมาใช้ในการผลิตลำไย การวางแผนการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ลำไยจึงเป็นมาตรการที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องควรตระหนักและให้ความสำคัญ เพึ่อรักษาระดับปริมาณผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ และลดผลกระทบจากความผันผวนด้านราคา และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาลำไย ได้แก่ ปริมาณผลผลิตลำไยสดในปีปัจจุบัน ปริมาณผลผลิตลำไยสดที่ส่งออกในปีที่ผ่านมา และราคาลำไยอบแห้งในปีปัจจุบัน โดยปริมาณผลผลิตลำไยสดในปีบัจจุบันมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาลำไยสด ส่วนปริมาณผลผลิตลำไยสดที่ส่งออกในปีที่ผ่านมาและราคาลำไยอบแห้งในปีปัจจุบันมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และ 4) ราคาลำไยสดที่คาดคะเน มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นสอดคส้องกับราคาลำไยสดในทิศทางเดียวกัน |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2299 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140477.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License