กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2303
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการบริโภคของผู้ที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumption behavior of the elderly who receive allowance in the Municipality of Rai Khing, Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กุลวรางค์ วิเศษศาสตร์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ -- ไทย -- นครปฐม
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริโภคของผู้ที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2) วิเคราะห์ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยสุดท้าย และ 3) เปรียบเทียบการบริโภคเฉลี่ยของผู้ที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิงกับเส้นความยากจนของจังหวัดนครปฐม ปี 2560 และ 4) สำรวจความต้องการสวัสดิการด้านต่างๆของผู้ที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองไร่ขิง จานวน 360 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้ไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และสมการถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้สูงอายุมีรายได้รวมเฉลี่ย 10,694.72 บาทต่อคนต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภครวมเฉลี่ยอยู่ที่ 6,827.17 บาทต่อคนต่อเดือน และมีภาระหนี้สินรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 6,895.83 บาทต่อคนต่อเดือน 2) ผู้ที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมีความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภคเท่ากับ 0.638 ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภคมีค่าเท่ากับ 0.486 โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภครวมต่อเดือน 3) ผู้ที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองไร่ขิง ร้อยละ 61.94 มีค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูงกว่าเส้นความยากจน และ ผู้สูงอายุร้อยละ 38.06 มีค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนของจังหวัดนครปฐม และ 4) การสำรวจความต้องการสวัสดิการด้านต่างๆ พบว่า ผู้สูงอายุต้องการให้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะ เช่น ห้องพักสาหรับผู้สูงอายุ/ ทางลาด/ รถเข็น ฯลฯ มากที่สุด รองลงมาคือ ความต้องการการจัดบริการตามบ้าน เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุในการดำรงชีพ และ ต้องการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ตามลำดับ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2303
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
162025.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons