Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/232
Title: | บทบาทการจัดสวัสดิการชุมชนของมูลนิธิพรเมตตา อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | Mery foundation's role in community welfare in Na Tan District, Ubon Ratchathani Province |
Authors: | สุดจิต เจนนพกาญจน์ สุวรรณนิสา พันธเสน, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิตรา วีรบุรีนนท์ ไพฑูรย์ มีกุศล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มูลนิธิพรเมตตา ชุมชน--ไทย--อุบลราชธานี |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพรเมตตา (2) บทบาททางด้านการจัดสวัสดิการชุมชนของมูลนิธิฯ (3) บทบาทสวัสดิการชุมชนของมูลนิธิฯ ที่มีผลต่อการแก้ไข ช่วยเหลือ และพัฒนา (4) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของมูลนิธิฯ (5) แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทบาท สวัสดิการชุมชนของมูลนิธิฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้จัดตั้งมูลนิธิฯ ผู้ที่มีส่วนในการจัดตั้งมูลนิธิฯ รวมทั้ง กำนัน ตำบลพะลาน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลพะลาน เจ้าหน้าที่อำเภอ จำนวน 5 คน ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมทางด้านอาชีพ จำนวน 5 คน ทางด้านการศึกษา จำนวน 10 คน ด้านนันทนาการ จำนวน 5 คน ด้านสุขภาพอนามัย จำนวน 5 คน ผู้ด้อยโอกาส เด็ก สตรี และผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 40 คน ซึ่งเป็นการคัดเลือกกลุ่มตัวอยางแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยเป็นการใช้แบบ สัมภาษณ์เจาะลึก และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม แบบสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพรเมตตา มูลนิธิฯ จัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2544 โดยมีนายจันทร์สมร ชัยศักดิ์ เป็นผู้ก่อตั้ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้ทุนประกอบอาชีพแก่ผู้ยากจนจัดสร้างที่พักอาศัยให้เด็กกำพร้าและผู้ที่ได้รับภัยพิบัติต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ และให้ความร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ (2) บทบาททางด้านการจัดสวัสดิการชุมชนของมูลนิธิฯ มีบทบาทในด้านการศึกษา การมีงานทำและมีรายได้ สุขภาพอนามัย ที่อยูอาศัย การบริการสังคม นันทนาการ และด้านอื่น ๆ (3) บทบาทสวัสดิการชุมชนของมูลนิธิฯ ที่มีผลต่อการแก้ไข ช่วยเหลือ และพัฒนา บทบาทของ มูลนิธิฯ ในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ปัญหาการศึกษา โดยการจัดหาและจัดสร้างสถานศึกษาในระดับต่าง ๆ การให้ทุนการศึกษา ทุนค่าพาหนะ ปัญหาการประกอบอาชีพและการมีงานทำโดยการจัดหางาน การให้ทุนประกอบอาชีพ การฝึกอาชีพ การจัดหาอาชีพเสริมให้กับผู้ยากไร้ ปัญหาการติดยาเสพติดของเด็ก เยาวชนและประชาชน โดยการส่งไปรับการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูจิตใจ ให้การอบรมด้านคุณธรรมและศีลธรรม ส่วนบทบาทด้านการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการโดยการปรับปรุง และสร้างถนน ประปาให้กับชุมชน และพัฒนาผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น (4) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของมูลนิธิฯ คือ มีจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในมูลนิธิน้อยเกินไป และเจ้าหน้าที่มีวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน (5) แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทบาทสวัสดิการชุมชนของ ฟมูลนิธิฯ โดยควรลดโครงการบางโครงการที่ไม่เกิดผล เพื่อจะได้ลดงบประมาณและค่าใช้จ่ายลง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.บ. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/232 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License