กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2338
ชื่อเรื่อง: การจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจแปรรูปน้ำนมดิบของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Processing cow milk supply chain business management of Khokkho dairy Co-operatives Ltd. Mahasarakam Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ
ศุภกาย เล็กศรัณยพงษ์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
น้ำนม--ไทย--มหาสารคาม
น้ำนม--การแปรรูป
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไป การดำเนินธุรกิจแปรรูปนม (2) กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจแปรรูปนม (3) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจแปรรูปนม ประชากรที่ศึกษา คณะกรรมการและฝ่ายจัดการ จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 3 คน ได้แก่ รองประธานกรรมการ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการเลี้ยงโคนม และผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชี โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตการณ์ของผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การซักถาม และการสังเกตการณ์ปฏิบติงาน ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพทั่วไปการดำเนินธุรกิจมีสมาชิก ทุนเรือนหุ้น ทุนดำเนินงานและกำ ไรสุทธิประจำปี เพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนหนี้สินหมุนเวียนมีแนวโน้มลดลง มีการกำหนดโครงการดำเนินธุรกิจแปรรูปนม เรียกว่าฝ่ายแปรรูปผลิตภัณฑ์นมได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมให้เป็นผู้กำหนดนโยบายและผลักดันการดำเนินธุรกิจ ในปี 2557 ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ 10,067,262 ถุง จ้างผลิตนมยเูอชที 11,338,028 กล่องกำไรเฉพาะธุรกิจ 5,138,290.78 บาท (2) กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่การส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้แก่สมาชิกให้สามารถผลิตน้ำนมดิบที่มีคุณภาพส่งน้ำนมดิบให้ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของสหกรณ์ ฝ่ายบัญชีรับคำสั่งซื้อและจัด ทาข้อมูลแผนการผลิตส่งให้ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและโรงงานแปรรูปนมใช้วางแผนการจัดการวัตถุดิบและการผลิต ผลิตภัณฑ์ได้แก่นมพาสเจอร์ไรส์บรรจุถุงและนมกล่องยูเอชี่ใช้แบรนด์กลางนมโรงเรียนจำหน่ายตามโครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียนเป็นหลัก ในการส่งมอบสินค้าใช้บริษัท ตัว แทนส่งมอบสินค้า ให้แก่ผู้บริโภคโดยนมพาสเจอร์ไรส์ส่งทุกวันทำการ นมยูเอชทีส่งในช่วงที่โรงเรียนจะปิดเทอม สหกรณ์เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก (3) ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ การปรับปรุงมาตรฐานฟาร์มโคนมสมาชิกยังไม่ครบทุกแห่ง น้ำนมดิบที่ส่ง จ้างผลิตและส่งจำหน่ายมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำนมดิบเกินความต้องการในช่วงปิดเทอม ผู้บริหารที่สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องการตลาดมีน้อย นมโรงเรียนไม่ใช่ตลาดที่ยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า สหกรณ์ยังไม่ได้นำแนวความคิดในการจัดการห่วงโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ควรศึกษาและนำแนวความคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในอนาคต
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2338
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext-149692.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons